บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาอิทธิพลของกรดจิบเบอเรลลิคและสายพันธุ์ปทุมมาต่ออายุ การปักแจกันของช่อดอกปทุมมา

กุลนาถ อบสุวรรณ ปิระมิด จิตรมาตร ตรีฉัตร มูสิกะ และ อภิรดี อุทัยรัตนกิจ

บทคัดย่อ การสัมมนาวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 6, โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส จังหวัดขอนแก่น, 14-15 สิงหาคม 2551. 182 หน้า.

2551

บทคัดย่อ

การศึกษาอิทธิพลของกรดจิบเบอเรลลิคและสายพันธุ์ปทุมมาต่ออายุ การปักแจกันของช่อดอกปทุมมา

การศึกษาการยืดอายุการเก็บรักษาช่อดอกปทุมมา พันธุ์ Bangkok Pink, Bangkok Ruby และพันธุ์ Laddawan หลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้สารละลายกรดจิบเบอเรลลิค ที่ความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม), 50, 100, และ 200 ppm พบ ว่า สายพันธุ์ปทุมมา ความเข้มข้นของสารละลายกรดจิบเบอเรลลิค และอิทธิพลร่วมระหว่างสายพันธุ์ปทุมมาและความเข้มข้นของสารละลายกรดจิบเบอ เรลลิคมีผลต่ออายุการใช้งานของช่อดอกปทุมมา โดยช่อดอกปทุมมาพันธุ์ Bangkok Pink ที่ปักในสารละลายกรดจิบเบอเรลลิค ความเข้มข้น 200 ppm มีอายุการใช้งานนานที่สุด (13.5 วัน) ขณะที่ปทุมมาพันธุ์ Laddawan และ พันธุ์ Bangkok Ruby มีอายุการใช้งานไม่แตกต่างกัน (ประมาณ 6-8 วัน) โดยช่อดอกปทุมมาพันธุ์ Laddawan ที่ปักในสารละลายกรดจิบเบอเรลลิค ความเข้มข้น 50 ppm มีการดูดน้ำและการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสดของช่อดอกมากที่สุดตลอดอายุการปักแจกัน ส่วนช่อดอกปทุมมาพันธุ์ Bangkok Ruby ที่ปักในสารละลายกรดจิบเบอเรลลิคทุกระดับความเข้มข้นมีอัตราการดูดน้ำ การสูญเสียน้ำหนัก และการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสดของช่อดอกไม่แตกต่างกันทางสถิติ