บทคัดย่องานวิจัย

สมบัติเชิงกลที่มีผลต่อการสุกแก่ของพุทรา

รัฐมนต์ จิตปรีดากร นฤมล บุญกระจ่าง และ บัณฑิต จริโมภาส

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 331-334.

2551

บทคัดย่อ

สมบัติเชิงกลที่มีผลต่อการสุกแก่ของพุทรา

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะหาคุณสมบัติเชิงกลของพุทราพันธุ์จัมโบ้  3 ระยะการเจริญเติบโต (ก่อนสุก 7 วัน, สุก, หลังสุก 7 วัน) วิธีการศึกษาประกอบด้วย  การหาสมบัติความแน่นเนื้อ พลังงานที่ใช้กด อัตราส่วนปังซอง และโมดูลัสของความยืดหยุ่นของผลพุทรา  การทดสอบใช้หัวกด 3 แบบ คือ Cylindrical probe, Spherical probe และ Flat probeแต่ละหัวกดใช้     3 อัตราความเร็ว คือ 2.5,25 และ 250 มิลลิเมตรต่อนาที ผลปรากฏว่าหัวกดแบบ Spherical probeที่อัตราความเร็วของหัวกด 2.5 มิลลิเมตรต่อนาที บอกแนวโน้มความแน่นเนื้อของผลพุทราได้ดีที่สุด ค่าความแน่นเนื้อในระยะก่อนสุก 7 วัน, สุก และหลังสุก 7 วัน คือ 16.72, 16.06 และ 13.37 นิวตันต่อมิลลิเมตร ค่าพลังงานที่ใช้กดสอดคล้องกับค่าความแน่นเนื้อ พลังงานในการกดเป็น 56.25, 47.83 และ 39.41 มิลลิจูล สำหรับระยะก่อนสุก   7 วัน, สุก และหลังสุก 7 วัน ตามลำดับ อัตราส่วนปัวซองของพุทราทั้ง 3 ระยะการเจริญเติบโต คือ 0.394, 0.383 และ 0.426 ตามลำดับ ค่าโมดูลัสของความยืดหยุ่น  3.51, 3.91 และ 2.91 MPa