บทคัดย่องานวิจัย

ผลของสารสกัดข่าร่วมกับกรดอะซิติกต่อการลดปริมาณ Escherichia coli O157: H7ปนเปื้อนบนผักชี

ภัทราวดี ศรีปัญญา และ บุษกร ทองใบ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 303-306.

2551

บทคัดย่อ

ผลของสารสกัดข่าร่วมกับกรดอะซิติกต่อการลดปริมาณ Escherichia coli O157: H7ปนเปื้อนบนผักชี

การศึกษานี้ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดข่า กรดอะซิติกและสารผสมของสารสกัดข่าร่วมกับกรดอะซิติกต่อ  Escherichia coli O157:H7 ที่สร้างสภาพการปนเปื้อนบนผักชี  พบว่าเมื่อใช้สารสกัดข่า (15 mg/ml) ร่วมกับกรดอะซิติก (0.5, 1.0 และ 2.0%v/v) ตามลำดับ สามารถลดปริมาณE. coli O157:H7ได้ 1.84, 1.79 และ 2.03 log10CFU/g ตามลำดับ  ซึ่งดีกว่าการใช้สารสกัดข่าและกรดอะซิติกเพียงอย่างเดียว (p<0.05) แต่เนื่องจากกรดอะซิติก 1.0 และ 2.0%(v/v) นั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของผักชี  แต่กรดอะซิติก 0.5%(v/v) ไม่พบการเปลี่ยนสีของผักชีเลย  ดังนั้นสารสกัดข่า 15 mg/mlร่วมกับกรดอะซิติก 0.5%(v/v)จึงเป็นสารที่เหมาะสมสำหรับควบคุมปริมาณแบคทีเรียบนผักชี  เมื่อศึกษาระยะเวลาแช่ผักชีที่เหมาะสมโดยแปรระยะเวลาแช่ 5, 10, 20 และ 30 นาที พบว่าที่ 30 นาทีสามารถลดปริมาณแบคทีเรียได้มากที่สุด(p<0.05)คือ 2.97 log10 CFU/g  โดยพบการเปลี่ยนสีและการเหี่ยวของผักชีเมื่อแช่นาน 20 และ 30 นาที ในขณะที่การแช่ที่ 10 นาทีสามารถลดปริมาณE. coliO157:H7ได้ 2.06 log10 CFU/g และไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของผักชีเกิดขึ้น  ดังนั้นระยะเวลาการแช่ผักชีที่เหมาะสมคือ10 นาที   ซึ่งจากประสิทธิภาพของ สารสกัดข่าร่วมกับกรดอะซิติกที่รายงานในการศึกษานี้จึงมีความเหมาะสมที่จะนำ มาพัฒนาเป็นน้ำยาล้างผักและผลไม้ที่ทำจากสารธรรมชาติ