บทคัดย่องานวิจัย

ผลของน้ำมันหอมระเหยจากข่าที่มีต่อเชื้อสาเหตุโรคในดินSclerotium rolfsii และประสิทธิภาพในการควบคุม

ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล และ รณภพ บรรเจิดเชิดชู

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 253-256.

2551

บทคัดย่อ

ผลของน้ำมันหอมระเหยจากข่าที่มีต่อเชื้อสาเหตุโรคในดินSclerotium rolfsii และประสิทธิภาพในการควบคุม

การจัดการดินเป็นวิธีหนึ่งที่จะใช้ในการควบคุมโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิผล ในการใช้น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากข่าโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ สาร geraniol และสาร linalool ซึ่งเป็นองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากพืช มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราในดิน Sclerotium rofsii โดยการผสมลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเส้นใยของเชื้อรา S. rolfsiiพบว่าที่ระดับความเข้มข้น 100 ppm จะมีผลต่อการเจริญของเส้นใยเชื้อรา S. rolfsii ทำให้เส้นใยเชื้อราบางลง จำนวนเม็ดสเคอโรเตียมที่เชื้อราสร้างขึ้นภายหลังจากที่ได้รับสารทดสอบมีจำนวนลดลง 11.8 - 21.5 เปอร์เซ็นต์ และเม็ดสเคอโรเตียมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กกว่าชุดที่ไม่ได้รับสารทดสอบ เม็ดสเคอโรเตียมที่เชื้อราสร้างขึ้นภายหลัง การได้รับสารทดสอบจะสามารถงอกได้ดี สำหรับประสิทธิภาพของสารทดสอบที่ระดับความเข้มข้น 300 600 900 1000 10000 ppm จะสามารถควบคุมการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ทำให้ไม่พบการสร้างเม็ดสเคอโรเตียม  ผลการทดสอบไอระเหยของน้ำมันหอมระเหยจากข่าในอัตรา 1 : ขนาดภาชนะ 2000 (โดยปริมาตร) พร้อมการบรรจุเม็ดสเคอโรเตียมเป็นเวลา 45 วันในภาชนะปิด พบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถควบคุมการงอกของเม็ดสเคอโรเตียมได้แตกต่างจากชุดควบคุม