บทคัดย่องานวิจัย

การอันโลดน้ำตาลระหว่างการพัฒนาของผลมะละกอ

พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล และ Robert E Paull

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 172-175.

2551

บทคัดย่อ

การอันโลดน้ำตาลระหว่างการพัฒนาของผลมะละกอ

การศึกษาการอันโลดน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่ผลมะละกอระหว่างการพัฒนาของผลทำโดยการเปรียบเทียบการอัพเทคกลูโคส -14 ของชิ้นเนื้อผลมะละกอสองพันธุ์ คือ ซันเซ็ท และ UH801(พันธุ์หวานน้อย)  พบว่า มะละกอพันธุ์ซันเซ็ทมีขนาดเล็กเพียงหนึ่งในสามของน้ำหนักผลมะละกอพันธุ์ UH801 แต่มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้และปริมาณน้ำตาลทั้งหมดสูงกว่า  ผิวผลมะละกอทั้งสองพันธุ์เริ่มเปลี่ยนสีพร้อมกันเมื่อผลอายุ 139 วันหลังติดผล  มะละกอพันธุ์ซันเซ็ทมีรูปแบบการอัพเทคน้ำตาลกลูโคส-14 ซึ่งใช้วัดกิจกรรมของ hexose transporter ระหว่างการพัฒนาของผลที่สามารถแบ่งได้เป็นสามระยะ คือ อัพเทคน้อยในระยะแรก (90-97 วัน) และระยะสุดท้าย (132-153 วัน) ของการพัฒนาผล แต่สูงในระยะกลาง (97-132 วัน) การอัพเทคกลูโคส-14 ในซันเซ็ทเกิดขึ้นสูงสุดเมื่อผลอายุ 118 วัน ก่อนการเพิ่มขึ้นของของแข็งที่ละลายน้ำได้และปริมาณน้ำตาลทั้งหมดและสูงกว่าที่พบในพันธุ์ UH801 ซึ่งเกิดขึ้นสูงสองระยะเมื่อผลอายุ 118 และ 139 วัน  กิจกรรมของ hexose transporterในผลมะละกอจำเป็นต้องใช้พลังงานร่วม  โดย hexose transportercDNAตัวแรกของผลมะละกอได้ถูกโคลนขึ้นโดยให้ชื่อว่า Carica papaya hexose transporter 1 (CpHT1)สามารถถอดรหัสได้โปรตีนที่มีกรดอะมิโน 523 ตัว คล้ายกับ hexose transporter ที่พบในผลองุ่น (VvHT1) และ Arabidopsis (AtSTP1)ถึง 91 และ 92%ตามลำดับ