บทคัดย่องานวิจัย

การใช้สาร n-propyl dihydrojasmonate และ กรด abscisic ภายหลังการเก็บเกี่ยวต่อการลดการเกิดอาการสะท้านหนาวของกล้วย

ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ Hiroshi Gemma Yoshihiko Sekozawa Sumiko Sugaya และ ศิริชัย กัลยาณรัตน์

บทคัดย่อ การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 5, โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร, 28-29 มิถุนายน 2550. 151 หน้า.

2550

บทคัดย่อ

การใช้สาร n-propyl dihydrojasmonate และ กรด abscisic ภายหลังการเก็บเกี่ยวต่อการลดการเกิดอาการสะท้านหนาวของกล้วย

ในการทดลองนี้ผลกล้วย (Musasp, cv.‘Grande Naine’)ได้รับการพ่นด้วยสาร n-propyl dihydrojasmonate (PDJ) และ abscisic acid (ABA) ที่ระดับความเข้มข้น  1 mM และ 0.25 mMตามลำดับ หลังจากนั้นทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 3สัปดาห์ โดยทุกสัปดาห์ของการเก็บรักษา ผลกล้วยจะถูกเคลื่อนย้ายมาทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 20องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 5 วัน จากกาศึกษาพบว่า สาร PDJ และ ABA  สามารถช่วยลดอาการสะท้านหนาวของผลกกล้วย โดยลดกิจกรรมของเอนไซม์ polyphenol oxidase (PPO)นอกจากนี้สารทั้งสองชนิดนี้ยังมีผลต่อการกระตุ้นเอนไซม์ในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD), catalase (CAT) และ peroxidase (POD)อย่างไรก็ตามการใช้สาร PDJ และ ABA มีผลต่อการกระตุ้นกระบวนการสุกของผลกล้วย โดยกระตุ้นการสร้างก๊าซเอทิลีน อัตราการหายใจ และการเปลี่ยนแปลงสี นอกจากนี้ยังพบว่าสาร PDJ และ ABA มีผลต่อการลดลงของค่า chlorophyll fluorescence (Fv/Fm)และ ความแน่นเนื้อของผลกล้วย จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สาร PDJ และ ABAสามารถลดการเกิดอาการสะท้านหนาวของผลกล้วยโดยการกระตุ้นเอนไซม์ในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้สารทั้งสองชนิดยังมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อกระบวนการสุกและเสื่อมสลายของผลกล้วย