บทคัดย่องานวิจัย

อิทธิพลของการอบแห้งโดยวิธีการแผ่รังสีอินฟราเรดคลื่นยาวร่วมกับการพาอากาศร้อนต่อลักษณะการอบแห้งและคุณภาพทางกายภาพของกล้วยส้ม

นเรศ มีโส และ ศิริธร ศิริอมรพรรณ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 38 ฉบับที่ 5 (พิเศษ). 2550. หน้า 365-368.

2550

บทคัดย่อ

อิทธิพลของการอบแห้งโดยวิธีการแผ่รังสีอินฟราเรดคลื่นยาวร่วมกับการพาอากาศร้อนต่อลักษณะการอบแห้งและคุณภาพทางกายภาพของกล้วยส้ม

การศึกษาอิทธิพลของการอบแห้งโดยวิธีการแผ่รังสีอินฟราเรดคลื่นยาว(FIR)ร่วมกับการพาอากาศร้อนต่อลักษณะการอบแห้งและคุณภาพทางกายภาพของกล้วย ปัจจัยของการอบแห้งที่ศึกษาได้แก่ ความเข้มของการแผ่รังสีอินฟราเรด 2-6 kW/m2 อุณหภูมิของอากาศร้อน 40°C  และ ความเร็วของอากาศร้อน 1-2 m/s  กล้วยส้ม (Musa (ABB group) ที่ใช้ในการศึกษาจะผ่านกระบวนการพรีทรีทเมนท์โดยการแช่สารละลายโปแตสเซียมเมตาไบซัลไฟต์ (KMS) 1% และนำไปอบแห้งภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด คุณภาพของกล้วยที่ศึกษาประกอบด้วย ความชื้น อุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ สี เนื้อสัมผัส (แรงเฉือน) และการหดตัว  จากผลการทดลองพบว่าเงื่อนไขการอบแห้งที่เหมาะสม คือ การอบแห้งที่ความเข้มของการแผ่รังสีอินฟราเรด  5 kW/m2 อุณหภูมิของอากาศร้อน 40°C  และความเร็วของอากาศร้อน 1 m/sโดยพิจารณาจากคุณภาพด้าน สี เนื้อสัมผัสและการหดตัว การอบภายใต้สภาวะนี้จะได้กล้วยที่มีคุณภาพด้านกายภาพที่น่าพึงพอใจ