บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาการอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดเซซันระดับอุตสาหกรรม

สรายุทธ์ สมิตะโยธิน

วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. เทคโนโลยีการจัดการพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2542. 126 หน้า.

2542

บทคัดย่อ

การศึกษาการอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดเซซัน ระดับอุตสาหกรรม

           

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดเซชัน ระดับอุตสาหกรรม  โดยวิเคราะห์การใช้พลังงาน  ค่าใช้จ่ายในการอบแห้ง  และทดสอบคุณภาพข้าวหลังการอบแห้ง  เพื่อหาสภาวะการทำงานที่เหมาะสม  และเปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างกรณีใช้หัวเผาน้ำมันดีเซลและเตาเผาแกลบแบบไซโคลนเป็นแหล่งให้ความร้อนในการอบแห้ง  จากผลการทดลองพบว่า  สภาวะการทำงานที่เหมาะสมกรณีใช้หัวเผาน้ำมันดีเซลมีอัตราส่วนอากาศเวียนกลับอยู่ในช่วง 45 – 60 %  ซึ่งมีปริมาณการใช้พลังงานปฐมภูมิจำเพาะต่ำอยู่ระหว่าง 5 – 5.7 MJ/kg-water evap.  ค่าใช้จ่ายในการอบแห้งรวม 1.61 Baht/ kg-water cvap.  แบ่งเป็นเงินลงทุนค่าเครื่องอบแห้ง 0.19 Baht/kg-water evap.  ค่าน้ำมันดีเซล 1.17 Baht/kg-water evap.  ค่าไฟฟ้า 0.19 Baht/kg-water evap.  และค่าบำรุงรักษา 0.06 Bath/kg-water evap.  กรณีใช้เตาเผาแกลบแบบไซโคลน มีปริมาณการใช้พลังงานปฐมภูมิจำเพาะเฉลี่ย 9.3 MJ/kg-water evap    ประสิทธิภาพทางความร้อนของระบบเตาเผาแกลบเฉลี่ย 75 %    ค่าใช้จ่ายในการอบแห้งรวม 0.83 Baht/kg-water cvap.  แบ่งเป็นเงินลงทุนค่าเครื่องอบแห้งและเตาเผาแกลบ 0.39 Baht/kg-water cvap.  ค่าแกลบ  0.05 Baht/kg-water cvap  ค่าไฟฟ้า  0.29 Baht/kg-water cvap. และค่าบำรุงรักษา  0.1 Baht/kg-water cvap.  กรณีเปลี่ยนจากการใช้หัวเผาน้ำมันดีเซลเป็นเตาเผาแกลบแบบไซโคลน  มีระยะเวลาคืนทุน  1,176  h  ผลการทดสอบเปอร์เซ็นต์ข้าวต้น  ความขาว  และคุณภาพการบริโภคพบว่า  ข้าวที่ผ่านการอบแห้งกรณีใช้หัวเผาน้ำมันดีเซลและเตาเผาแกลบแบบไซโคลน   มีคุณภาพไม่แตกต่างจากข้าวอ้างอิงมากนัก  จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ไม่เป็นปัญหาสำหรับการซื้อขายและการบริโภค