บทคัดย่องานวิจัย

การเก็บรักษาสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง

เบญจมาส รัตนชินกร สณทรรศน์ นันทะไชย และทวีศักดิ์ แสงอุดม

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2544. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. 2545.

2545

บทคัดย่อ

การเก็บรักษาสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง

 

การศึกษาผลของสารเคลือบผิวและอุณหภูมิต่อคุณภาพการเก็บรักษาสับปะรดวัยแก่เขียว พบว่า สารเคลือบผิว Semper fresh âอัตราส่วนสารเคลือบผิวต่อน้ำ 1:20 และ 1:50และ Sta fresh âอัตราส่วน 1:4 และ 1:9ไม่สามารถช่วยควบคุมอาการผิดปกติในสับปะรดที่แต่งจุกและไม่แต่งจุกที่เก็บรักษาที่ 8 10 12 และ 15 oซ นาน 10วัน แล้วย้ายมาเก็บรักษาต่อที่ 12 oซ อีก 2วัน สับปะรดที่เก็บรักษาที่ 15oซ ตลอดเวลานาน 12วัน หรือเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 10 12 15 และ 20o ซ นาน 8วัน กล่าวคือสับปะรดที่เคลือบผิวและไม่เคลือบผิวเมื่อนำออกจากห้องเย็นแล้วผ่าตรวจสอบคุณภาพทันที พบว่าสับปะรดกว่า 80%แสดงอาการผิดปกติ เช่นเดียวกับสับประรดที่ไม่เคลือบผิว อาการผิดปกติที่พบ คือเนื้อสับประรดบริเวณรอบแกนทีลักษณะฉ่ำน้ำตลอดแนวตามความยาวผล การตรวจสอบคุณภาพเมื่อเก็บต่อที่อุณหภูมิห้องอีก 3วัน พบว่า เนื้อส่วนที่ผิดปกติเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือที่เรียกกันว่าไส้ดำ ส่วนสับปะรดที่เก็บรักษาที่ 15oซ 12วัน หรือ 20oซ 8วัน มีอาการไส้ดำเมื่อตรวจสอบคุณภาพทันทีที่นำออกจากห้องเย็น

การทดลองใช้ Polyolefin film ความหนา 16และ 19ไมครอน ห่อผลแล้วเก็บที่ 10o ซ เป็นเวลา 10และ 15วัน พบว่าสับปะรดวัยแก่เขียวที่ห่อผลด้วยฟิล์มพลาสติก แสดงอาการรอบแกนฉ่ำน้ำรุนแรงกว่า control (สับประรดที่ไม่ห่อผล) อย่างไรก็ตามลักษณะผิดปกติดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นไส้ดำเมื่อเก็บรักษาต่อที่อุณหภูมิห้อง อาการผิดปกติจะรุนแรงขึ้นเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำนานขึ้น

จากการทดสอบการเก็บรักษาในสภาพควบคุมบรรยากาศ ที่มี O2ความเข้มข้น 2-3%ที่อุณหภูมิ 10oซ นาน 10และ 15วัน พบว่า สภาพควบคุมบรรยากาศไม่ช่วยควบคุมหรือลดอาการผิดปกติในสับปะรดเมื่อเปรียบเทียบกับสับปะรด control ที่เก็บในสภาพบรรยากาศปกติ และเมื่อย้ายสับปะรดจากอุณหภูมิต่ำมาเก็บที่อุณหภูมิห้อง พบว่า สับปะรดทุกกรรมวิธีมีอาการไส้ดำรุนแรงแม้จะเก็บรักษาไว้เพียง 1 วัน และสีของเนื้อส่วนที่ผิดปกติจะพัฒนาเข้มขึ้นเมื่อเก็บที่อุณหภูมิสูงนานขึ้น

การศึกษาผลของ heat treatment ในการช่วยรักษาคุณภาพสับปะรดพบว่า การเก็บสับปะรดวัยแก่เขียวที่อุณหภูมิ 37o ซ นาน 12 24 หรือ 36ช.ม. ก่อนหรือภายหลังการเก็บรักษาที่ 10oซ เป็นเวลา 10 และ 15วัน นั้น พบว่า กรรมวิธีต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่สามารถช่วยควบคุมอาการหรือลดอาการไส้ดำในสับประรด