บทคัดย่องานวิจัย

การเก็บรักษาลำไย มังคุด และเงาะในสภาพควบคุมบรรยากาศ

เบญจมาส รัตนชินกร สณทรรศน์ นันทะไชย และทวีศักดิ์ แสงอุดม

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2544. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. 2545.

2545

บทคัดย่อ

การเก็บรักษาลำไย มังคุด และเงาะในสภาพควบคุมบรรยากาศ

 

การศึกษาผลของสภาพควบคุมบรรยากาศ (Controlled Atmosphere, CA) ต่อคุณภาพและการเก็บรักษาของลำไย มังคุด และเงาะนั้น แบ่งการทดลองเป็น 2 ชุด ตามชนิดของก๊าซที่ทดลอง คือ CO2และ O2 โดยทำการเก็บรักษาผลไม้ในสภาพ CAที่มี CO2ความเข้มข้นสูง 5 21 20 และ 40%หรือ CAที่มี O2 ต่ำ 1 2 4 และ 6%ส่วน control คือการเก็บรักษาในบรรยากาศปกติ (21% CO2)ระบบ CAที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นระบบเปิด คือให้ก๊าซผสมผ่านเข้าและออกภาชนะบรรจุผลไม้ตลอดเวลา ทำการสุ่มผลไม้มาตรวจสอบคุณภาพสัปดาห์ละครั้งจนผลไม้หมดสภาพ

ผลการทดลองในลำไยพันธุ์ดอที่รมควันและไม่รมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)เก็บในสภาพ CAที่ 4-5องศาเซลเซียส พบว่าลำไยที่รมควันและไม่รมควัน SO2 จะเก็บได้นาน 50 และ 30วัน ตามลำดับ ลำไย control เมื่อนำมาเก็บรักษาต่อที่ 25องศาเซลเซียส จะพบปัญหาเน่าเสียง่าย ส่วนลำไยทั้ง 2ชนิดที่เก็บใน CAจะสามารถเก็บรักษาต่อที่ 25 องศาเซลเซียส ได้นาน 4วัน โดยมีคุณภาพการรับประทานเป็นที่ยอมรับ ยกเว้นลำไยที่เก็บในบรรยากาศที่มี CO2 40%จะมีอาการ CO2injury คือสีผิวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นและเน่าเสียง่าย

มังคุดวัยผิวสีแดง เก็บรักษาในสภาพ CAที่ 15องศาเซลเซียส พบว่า บรรยากาศที่มี O22%จะยืดอายุการเก็บรักษามังคุดได้นาน 7สัปดาห์ โดยมีคุณภาพการวางจำหน่ายที่ 25องศาเซลเซียสอีก 4วัน และมีคุณภาพการรับประทานที่ดี ส่วนมังคุด control และมังคุด CAที่มี CO2 5-10% หรือ O2  1 4และ 6%จะเก็บรักษาได้นานเพียง 5 สัปดาห์ มังคุดที่เก็บรักษาใน CAที่มี CO2 20และ 40%จะเกิดอาการผิดปกติ เมื่อเก็บรักษาไว้นาน 4และ 2สัปดาห์ ตามลำดับ คือสีผิวมังคุดไม่พัฒนาเข้มขึ้น แต่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เปลือกแข็ง เนื้อจะแข็งและไม่พัฒนานิ่มลง และเชื้อราเข้าทำลายผลได้ง่าย

เงาะโรงเรียน control จะเก็บรักษาที่ 15องศาเซลเซียสได้นานเพียง 1สัปดาห์ การเก็บรักษานานขึ้นจะพบปัญหาเน่าเสีย เงาะที่เก็บรักษาใน CAที่มี CO2 5-10%หรือ O2 2%มีอายุการเก็บรักษานาน 2สัปดาห์ ส่วนเงาะที่เก็บรักษาใน CO2 20 และ 40%จะเกิดอาการผิดปกติ เมื่อเก็บรักษาไว้นาน 2และ 1 สัปดาห์ ตามลำดับ คือสีผิวเงาะเปลี่ยนจากสีแดงอมเหลืองเป็นสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นหมัก เมื่อนำมาเก็บรักษาต่อที่ 25องศาเซลเซียสจะเน่าเสียง่าย ส่วน O2 1%จะทำให้เงาะมีกลิ่นหมักและรสชาติไม่เป็นที่ยอมรับ