บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาภาชนะบรรจุและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสำหรับทุเรียนพร้อมรับประทาน

สณทรรศน์ นันทะไชย เบญจมาส รัตนชินกร และอุมาภรณ์ สุจริตทวีสุข

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2543. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. 2544.

2544

บทคัดย่อ

การศึกษาภาชนะบรรจุและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสำหรับทุเรียนพร้อมรับประทาน

 

การศึกษาผลของภาชนะบรรจุที่เหมาะสมสำหรับทุเรียนพร้อมรับประทาน (ส่วนเนื้อทั้งพูพร้อมเมล็ด) พบว่าการบรรจุทุเรียนในภาชนะพลาสติก Polyvinyl chloride; PVC แล้วหุ้มฟิล์ม สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด (Total plate count; TPC) และ Staphylococcus ได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ คือ มี TPC เพียง 2x10 CFU/g และ Staphylococcus 0.5x10 CFU/g ในขณะที่การบรรจุทุเรียนในภาชนะพลาสติก PVCปิดฝาแล้วหุ้มด้วยพลาสติก Polypropylene; PP สามารถควบคุมการเจริญของยีสต์ได้ดี มีการเจริญเพียง 2.33x10 CFU/g ส่วนการบรรจุทุเรียนในภาชนะพลาสติก PVCหุ้มฟิล์มและฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 20มิลลิลิตรต่อถาด มีการเจริญของ TPC และ Staphylococcusมากที่สุด แต่ไม่เกินมาตรฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด และคุณภาพการชิมเป็นที่ยอมรับ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิการเก็บรักษา พบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิเริ่มต้น 20องศาเซลเซียส แล้วย้ายไปเก็บที่ 15 10 5 และ 2 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ก่อนการวิเคราะห์ย้ายมาเก็บที่ 5องศาเซลเซียส ก่อนย้ายไปที่ 15 20 และ 30องศาเซลเซียส ทุก ๆ 1ชั่วโมง สามารถควบคุมการเจริญของ TPCและยีสต์ได้ดีที่สุด ส่วนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิเริ่มต้นที่ 15องศาเซลเซียส แล้วย้ายไปเก็บที่ 5 และ 2องศาเซลเซียสตามลำดับ สามารถควบคุมการเจริญของ Staphylococcus ได้ดีที่สุด การประเมินคุณภาพการชิมเป็นที่ยอมรับ