บทคัดย่องานวิจัย

ความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อ Colletotrichum spp. isolate ต่างๆบนผลพริก และปฏิกิริยาของพริกบาง isolate ต่อโรคกุ้งแห้ง

อรพรรณ วิเศษสังข์ และจุมพล สาระนาค

รายงานผลงานวิจัยเรื่องเต็ม ปี 2546. สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช. 2547. หน้า 467-479.

2547

บทคัดย่อ

ความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อ Colletotrichum spp. isolate ต่างๆบนผลพริก และปฏิกิริยาของพริกบาง isolate ต่อโรคกุ้งแห้ง

การทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อราColletotrichum  spp.สาเหตุโรคกุ้งแห้งของพริก ในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักไม้ดอกและไม้ประดับ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา โดยการนำเชื้อ Colletotrichum  spp.จำนวน 8 isolate ที่แยกเชื้อได้มาจากพริกหลายชนิด ในแหล่งปลูกต่างๆ และเก็บรักษาไว้ในตู้เก็บเชื้อของกลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักฯ ปลูกเชื้อลงบนพริกหยวกในระยะการเจริญ 3ระยะ ได้แก่ ผลเขียว ผลที่เริ่มเปลี่ยนสี และผลแดง หลังจากปลูกเชื้อ 5วัน เชื้อแต่ละ isolate มีความสามารถแตกต่างกันในการทำให้เกิดโรคบนผลพริกแต่ละการเจริญ isolate C ปาพนัง ทำให้ผลพริกเขียวเกิดโรครุนแรงและแผลขยายตัวได้เร็วที่สุด หลังจากปลูกเชื้อ 8วัน แผลมีความยาวสูงสุด 5.66 ซม.Isolate C No 7, C ปากพนัง Cกาญจนบุรี Cพิจิตร และ Cนาบอน ทำให้เกิดแผลบนพริกแดงยาวมากกว่า 5ซม.Cพิจิตร ทำให้ผลพริกแดงเกิดโรคในระดับรุนแรงและเมื่อทิ้งระยะนานขึ้นแผลที่เกิดมีขนาดความยาวเพิ่มขึ้น Cกาญจนบุรี ทำให้ผลพริกทั้งสามระยะเกิดโรคในระดับปานกลางแต่แผลมีการขยายได้เร็ว ส่วน isolate C. ลำปางทำให้ผลพริกทุกระยะเกิดโรคน้อยและแผลมีการขยายน้อย การศึกษาปฏิกิริยาของ isolate พริกต่อการทำลายของเชื้อ Colletotrichum  spp.ในห้องปฏิบัติการโดยการปลูกเชื้อสาเหตุโรคจำนวน 3 isolate บนผลเขียวและผลแดงของพริก 12isolate ตรวจวัดความยาวของแผล 2ครั้ง หลังปลูกเชื้อ 5วัน และ 8วันแล้ว นำไปคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความเสียหายของแต่ละ isolate ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าพริกสายพันธุ์ 36-18 ทนทานต่อการทำลายของเชื้อ C. gloeosporioides  และ C. capsici  ทั้งผลเขียวและผลแดงมีความเสียหายน้อย สายพันธุ์ PT. มีความทนทานต่อการทำลายของ C. capsici ผลพริกแดงของสายพันธุ์ 36-99-04 มีความทนทานต่อการทำลายของเชื้อทั้งสอง species