บทคัดย่องานวิจัย

วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างของ Triazophos ในถั่เหลืองฝักสดเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRLs) ครั้งที่ 5 และ 6

ลมัย ชูเกียรติวัฒนา, บังเอิญ สีมา และรัชนี สุวภาพ

บทคัดย่อผลการทดลองสิ้นสุดโครงการวิจัยและพัฒนาด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตรปีงบประมาณ 2549. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. 150 หน้า.

2549

บทคัดย่อ

วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างของ Triazophos ในถั่เหลืองฝักสดเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRLs) ครั้งที่ 5 และ 6

 

การศึกษาการสลายตัวของไตรอะโซฟอสในถั่วเหลืองฝักสดครั้งที่ 5และ 6ได้ทำแปลงทดลอง ที่ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีรวม 2ครั้ง ได้แก่ ฤดูหนาวระหว่างเดือนธันวาคม 2548 ถึงกุมภาพันธ์ 2549 และฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2549การทำแปลงทดลองไตรอะโซฟอส แต่ละครั้งมี 2 การทดลอง คือแปลงควบคุมและแปลงอัตราแนะนำ (พ่นไตรอะโซฟอสชนิด 40% W/V EC อัตรา 50 มล.ต่อน้ำ 20ลิตรซึ่งเท่ากับ 100 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ต่อน้ำ 100ลิตร) ทำการทดลองเป็น Supervised Trialมี 3ซ้ำ 8กรรมวิธีซึ่งได้แก่ระยะเวลาที่เก็บตัวอย่างถั่วเหลืองฝักสด มาวิเคราะห์สารพิษตกค้าง (0, 1, 5, 7, 10, 14, 21 และ 28วันภายหลังการพ่นไตรอะโซฟอสครั้งสุดท้าย) พ่นไตรอะโซฟอสทุก 7วัน รวม 3ครั้ง พ่นไตรอะโซฟอสครั้งสุดท้ายเมื่อถั่วอายุประมาณ 50วัน ผลการทดลองในฤดูหนาวพบว่าถั่วเหลืองฝักสดมีไตรอะโซฟอสตกค้าง 7.71, 2.87, 1.83, 1.06, 0.64, 0.52, 0.17 และ0.12 มก./กก. ที่ 0, 2, 4, 7, 10, 14, 21 และ 28วันภายหลังจากการพ่นครั้งสุดท้าย ตามลำดับ ส่วนผลในฤดูฝนพบว่าถั่วเหลืองฝักสดมีไตรอะโซฟอสตกค้าง 7.08, 1.78, 1.05, 0.67, 0.31, 0.17, 0.07 และ0.06 มก./กก. ที่ 0, 1, 4, 7, 10, 14, 21 และ 28วัน ตามลำดับ จะเห็นว่าผลการทดลองทั้งฤดูหนาวและฤดูฝนสอดคล้องกัน แต่เนื่องจาก FAO/WHO กำหนดค่า MRLs (maximum residue limit) ของสารไตรอะโซฟอส ในcommon bean (pod and/or immature seeds) ไว้เท่ากับ 0.2 มก./กก. ดังนั้นถ้าเกษตรกรใช้ไตรอะโซฟอสกับถั่วเหลืองฝักสดตามคำแนะนำของฉลากคือเว้นระยะเวลา 28วันภายหลังการพ่นครั้งสุดท้าย ถั่วเหลืองฝักสดจะปลอดภัยต่อผู้บริโภคและไม่เป็นอุปสรรคในการส่งออก