บทคัดย่องานวิจัย

วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างของแมนโคเซบในพริกเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRLs) ครั้งที่ 5 และ 6

รัชนี สุวภาพ, พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, จินตนา ภู่มงกุฎชัย และเนาวรัตน์ เอื้ออัจจิมากุล

บทคัดย่อผลการทดลองสิ้นสุดโครงการวิจัยและพัฒนาด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตรปีงบประมาณ 2549. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. 150 หน้า.

2549

บทคัดย่อ

วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างของแมนโคเซบในพริกเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRLs) ครั้งที่ 5 และ 6

การศึกษาปริมาณสารพิษตกค้างของแมนโคเซบในพริก โดยการใช้วัตถุมีพิษอย่างถูกต้องและปลอดภัย ทำแปลงทดลอง ครั้งที่ 5ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2548- กุมภาพันธ์ 2549 ทำแปลงทดลองที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี และครั้งที่ 6ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2549 ทำแปลงทดลองที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี วางแผนการทดลองแบบ supervised trial, RCB (randomized complete block) มี 3ซ้ำ (replications) 8 วิธีการ (treatment) ตามวันเก็บตัวอย่างพริกหลังจากการพ่นวัตถุมีพิษครั้งสุดท้ายคือ 0, 1, 3, 5, 7, 9, 12 และ 15วัน โดยแบ่งเป็น 2การทดลองย่อยคือ แปลงที่ใช้แมนโคเซบในอัตราแนะนำ โดยใช้วัตถุมีพิษชนิด 80% W/P 80 กรัม/น้ำ 20ลิตร(ครั้งที่ 5 และ 6คิดเป็น 2,057 และ 1,965 กรัมa.i./hectare ตามลำดับ) และแปลงที่ไม่ใช้วัตถุมีพิษแมนโคเซบ พ่นวัตถุมีพิษในอัตราที่กำหนด รวม 4ครั้ง พ่นครั้งแรกเมื่อพริกอายุประมาณ 90 วัน หลังการพ่นวัตถุมีพิษครั้งสุดท้าย เก็บตัวอย่างพริก มาทำการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างแมนโคเซบ ผลการตรวจวิเคราะห์มีดังนี้ การทดลองครั้งที่ 5พบสารพิษตกค้างแมนโคเซบในรูปของ carbon disulfide ปริมาณ 1.09, 0.89, 0.68, 0.31, 0.29, 0.20, 0.28, 0.21 มก./กก. ที่ 0, 1, 3, 5, 7, 9, 12 และ 15วันหลังจากการพ่นวัตถุมีพิษครั้งสุดท้าย ตามลำดับ การทดลองครั้งที่ 6พบสารพิษตกค้างแมนโคเซบในรูปของ carbon disulfide ปริมาณ 0.61, 1.45, 0.79, 0.70, 0.48, 0.20, 0.14 และ0.17 มก./กก. ที่ 0, 1, 3, 5, 7, 9, 12 และ 15วันหลังจากการพ่นวัตถุมีพิษครั้งสุดท้าย ตามลำดับ ซึ่งค่า maximum residue limit (MRL) ของสารแมนโคเซบ ในรูปของ carbon disulfideใน  peppers sweet มีปริมาณ 1 มก./กก. และตามคำแนะนำในฉลากสำหรับการใช้แมนโคเซบ ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตภายหลังการพ่นวัตถุมีพิษครั้งสุดท้าย 7วัน