บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษากำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRL) ในพืช 12 ชนิด

อารยา กำเนิดมั่น

ผลงานวิจัยนี้มีประโยชน์และโครงการวิจัยนี้เผยแพร่ ปีงบประมาณ 2548. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2548. 57 หน้า.

2548

บทคัดย่อ

การศึกษากำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRL) ในพืช 12 ชนิด

 

ค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้างในผลิตผลเกษตร (MRL) เป็นมาตรฐานอาหารที่ประเทศหนึ่งๆ หรือกลุ่มประเทศกำหนดขึ้นเป็น National MRL ของประเทศนั้นหรือกลุ่มประเทศ เช่น Japan MRL, USA MRL หรือ EU MRL หรือ ASEAN MRL เป็นต้น แต่เนื่องจากค่า MRLจากแต่ละแหล่ง มีความแตกต่างกัน ดังนั้น FAO/WHO จึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการโครงมาตรฐานอาหาร (Codex Alimentarius Commission หรือ Codex) ให้มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานอาหารสากลเป็นค่า Codex MRL เพื่อปกป้อง คุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค และให้เกิดความเป็นธรรมในทางการค้าระหว่างประเทศ การดำเนินงานของ Codex ตั้งอยู่บนหลักการวิทยาศาสตร์ โดยใช้หลักการวิทยาศาสตร์ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ ความเสี่ยงและควบคุมกระบวนการผลิต มีความยืดหยุ่น ไม่ให้เกิดความเข้มงวดเกินไปในการผลิตการค้า มิให้ฝ่าหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนามีการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกและองค์การที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีให้ความเห็นพ้องต้องกันในระหว่างประเทศสมาชิก ค่า Codex MRLที่กำหนดจากระดับหรือใกล้เคียงกับปริมาณต่ำสุดของสารพิษตกค้างที่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ (Limit of Determination / Limit of Quantitation หรือ (LOQ) ซึ่งมักจะเป็นค่า MRL ของสารที่ไม่มีข้อมูลด้าน Supervised trials อาจเนื่องจากไม่ได้ให้ขึ้นทะเบียนใช้กับพืชชนิดนั้นๆ

จากการที่รัฐบาลมีเป้าหมายให้ประเทศไทยกำหนดค่า MRL ในพืช 12ชนิดที่เป็นพืชส่งออก ซึ่งสามารถเรียงตามลำดับความสำคัญของพืช ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ พริก มะม่วง ส้มโอ กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน มะขาม และขิง ส่วนวัตถุมีพิษพิจารณาจากเป็นสารพิษตกค้างที่พบเสมอ ได้แก่ chlorpyrifos, cypermethrin, parathion-methyl, triazophos, profenofos, prothiophos, fenitrothion, pirimiphos-methyl, dimethoate, diazinon, malathion, permethrin, fenvalerate, cyhalothrin, cyfluthrin, deltamethrin และ endosulfan (มี 3 isomer คือ α- endosulfan, β-endosulfan และ endosulfan sulfate) ซึ่งวัตถุมีพิษเหล่านี้ประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดค่า National MRLเนื่องจากการกำหนดค่า MRL จาก supervised trials ต้องใช้เวลานานมาก หรืวัตถุมีพิษบางชนิดไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้กับพืชที่ต้องการกำหนดค่า MRL จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการกำหนดค่า MRL ซึ่งค่าที่กำหนดนี้สามารถปรับได้ภายหลังจากได้ค่าจากการทำการทดลอง supervised trialsแล้ว

โครงการนี้จึงนำสารพิษดังกล่าวมา spike ลงในพืช 8ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย พริก มะม่วง ส้มโอ กระเจี๊ยบเขียว และหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อศึกษาทั้งประสิทธิภาพวิธีวิเคราะห์ และ Limit of  Quantitation (LOQ) พบว่าวิธีวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูงในเกณฑ์ยอมรับ 70-110เปอร์เซ็นต์ใช้ได้กับพืชถึง 6ชนิด คือ วิธีที่พัฒนามาจากวิธีของ Steinwandter, H (1985) และวิธีวิเคราะห์อีก 2วิธีคือ วิธีของ Anatasia E.Hiskia (1998)  ใช้ในการวิเคราะห์ทุเรียน ซึ่งเป็นพืชที่มีไขมัน ต้องใช้วิธีวิเคราะห์พิเศษไม่สามารถใช้วิธีของ Steinwandter, H (1985)ได้ และวิธีที่พัฒนามาจากวิธีใน PAM vol.1 US-FDA, 1996 ใช้ในการวิเคราะห์กระเจี๊ยบเขียว ส่วนการศึกษา LOQ ของวัตถุมีพิษทั้ง 17ชนิด ในพืชทดลองพบว่าในลำไย สารกลุ่ม organophosphate มีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.02-0.07มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับสารกลุ่ม pyrethroid มีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.02-0.11มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ α- endosulfan, β-endosulfan, endosulfan sulfateมีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.05-0.07มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในทุเรียน สารทั้ง 3กลุ่มคือ organophosphate, pyrethroidและ α- endosulfan, β-endosulfan, endosulfan sulfate organophosphate มีค่า LOQ 0.01มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนสารกลุ่ม pyrethroid มีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.01-0.04มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ α- endosulfan, β-endosulfan, endosulfan sulfateมีค่า LOQ เท่ากับ 0.05-0.07มิลลิกรัม/กิโลกรัมในส้มโอ สารกลุ่มorganophosphate มีค่า LOQ 0.01มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนสารกลุ่ม pyrethroid มีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.01-0.04มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ α- endosulfan, β-endosulfan, endosulfan sulfateมีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.01-0.03มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในมังคุด  สารกลุ่ม organophosphate ส่วนใหญ่มีค่า LOQ 0.01มิลลิกรัม/กิโลกรัม ยกเว้น profenofos และ triazophos มีค่า LOQ 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับสารกลุ่ม pyrethroid ส่วนใหญ่มีค่า LOQ เท่ากับ 0.05มิลลิกรัม/กิโลกรัม ยกเว้น lamdacyhalothrin มีค่า LOQ 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ α- endosulfan, β-endosulfan, endosulfan sulfateมีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.05-0.07มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในพริก สารกลุ่ม organophosphate และ pyrethroid มีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.001-0.002มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในหน่อไม้ฝรั่ง พบว่าสารในกลุ่ม organophosphate และ endosulfanมีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.01-0.02มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ สารในกลุ่ม pyrethroid มีค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.01-0.06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม