บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการเคลือบผิวด้วยไคโตซานต่อคุณภาพของสตรอเบอรี่พันธุ์ 329 หั่นชิ้น

ศิริโสภา อินขะ ดำรงวิทย์ กองทอง และนิธิยา รัตนาปนนท์

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 243 (276 หน้า)

2548

บทคัดย่อ

ผลของการเคลือบผิวด้วยไคโตซานต่อคุณภาพของสตรอเบอรี่พันธุ์ 329 หั่นชิ้น  ผลสตรอเบอรี่ (Fragaria ananassa Duchesne) พันธุ์ 329 ที่มีสีผิวเป็นสีแดง 90-100 เปอร์เซ็นต์ นำมาตัดขั้วผลออก หั่นชิ้นครึ่งผลตามยาว แล้วแช่ในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์ความเข้มข้น 100 ppm พีเอช 7.0 ที่อุณหภูมิ ซ เป็นเวลา 1 นาทีผึ่งให้ผิวแห้ง หลังจากนั้นนำมาจุ่มลงในสารละลายไคโตซานความเข้มข้น 1.0 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 30 วินาที ผึ่งให้ผิวแห้งอีกครั้งหนึ่งแล้วนำไปบรรจุในถาดพลาสติกใสชนิดที่มีฝาปิด (clamshell) แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ ซ ความชื้นสัมพัทธ์ 87+5 เปอร์เซ็นต์ นาน 10 วัน สุ่มตัวอย่างออกมาวิเคราะห์ คุณภาพทุกๆ 2 วัน ผลการทดลองพบว่า ผลสตรอเบอรี่หั่นชิ้นที่จุ่มในสารละลายไคโตซานความเข้มข้น 1.0 เปอร์เซ็นต์มีค่าสีผิว L* เพิ่มขึ้น a* และ b* ลดลงน้อยกว่าชุดควบคุม ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าชุดควบคุม วิตามินซีเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน แอนโทไซยานินเพิ่มขึ้นน้อยกว่าชุดควบคุม และค่าพีเอชเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้ในรูปของกรดซิตริกที่ลดลงมากกว่าชุดควบคุม และผลสตรอเบอรี่หั่นชิ้นที่จุ่มในสารละลายไคโตซานสูญเสียน้ำหนักเพียง 0.47 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่สูญเสียน้ำหนัก 2.08 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าการเคลือบผิวผลสตรอเบอรี่หั่นชิ้นด้วยสารละลายไคโตซานสามารถชะลอการสูญเสียน้ำได้