บทคัดย่องานวิจัย

การทดลองใช้น้ำร้อนก่อนปักแจกันดอกบัวหลวงพันธ์สัตตบุษย์ (Nelumbo nicafera ‘Album Plenum’)

ช.ณัฏฐ์ศิริ สุยสุวรรณ กฤษณา ทวีศักดิ์วิชิตชัย และวรารัตน์ พูลสุข

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 94 (276 หน้า)

2548

บทคัดย่อ

การทดลองใช้น้ำร้อนก่อนปักแจกันดอกบัวหลวงพันธ์สัตตบุษย์ (Nelumbo nicafera ‘Album Plenum’) ผิวรอยตัดของก้านดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบุษย์ (Nelumbo nucifera ‘Album Plenum’) จะมีน้ำยางไหลซึมออกมา จึงน่าจะเป็นปัญหากับคุณภาพการปักแจกันของดอกบัว เพราะไปป้องกันการดูดน้ำของก้านดอกบัว การทดลองศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อลดปัญหาดังกล่าว โดยการจุ่มปลายก้านดอกในน้ำร้อนอุณหภูมิ 40-90°C 2-3 วินาที ก่อนปักแจกันในหลอดทดลองเปรียบเทียบกับวิธีการควบคุม ผลปรากฏว่า อุณหภูมิน้ำร้อน 60°C เป็นวิธีการที่ดีที่สุด วิธีการนี้มีผลทำให้ดอกไม้ขาดน้ำน้อยที่สุด ผลิตเอทิลีนน้อยที่สุด ลดการเหลืองของกลีบดอก ลดการเหลืองของ petaloid staminode และลดพื้นที่สีดำของดอก ได้ดีที่สุด วิธีการนี้ทำให้ดอกขาดน้ำน้อยที่สุดเฉลี่ย 7.68% ผลิตเอทิลีนเฉลี่ยเพียง 96.64 ml.kg-1.hr-1 ในขณะที่วิธีการควบคุมดอกขาดน้ำเฉลี่ย 14.85% และผลิตเอทิลีนเฉลี่ย 130.69 ml.kg-1.hr-1