บทคัดย่องานวิจัย

สรีรวิทยาและผลของเอทิลีนต่อการหลุดร่วงของกลีบดอกมะลิลา

กาญจนา บุญเรือง และจริงแท้ ศิริพานิช

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 13. (276 หน้า.)

2548

บทคัดย่อ

สรีรวิทยาและผลของเอทิลีนต่อการหลุดร่วงของกลีบดอกมะลิลา  การศึกษาอัตราการหายใจและอัตราการผลิตเอทิลีนของดอกมะลิลาในระยะดอกตูมสีขาว โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ดอกทั้งดอกรวมก้าน กลีบดอก และก้านดอก พบว่า ดอกทั้งดอกและกลีบดอกมีรูปแบบการหายใจและการสร้างเอทิลีนคล้ายคลึงกัน โดยขณะกลีบดอกเริ่มบานและเกิดกลิ่นหอมที่เวลา 20.00 . ของวันแรก เป็นช่วงที่มีอัตราการหายใจสูงสุด หลังจากนั้นอัตราการหายใจลดลงจนสิ้นสุดการทดลอง ดอกทั้งดอกเริ่มมีการสร้างเอทิลีนที่เวลา 24.00 . ของวันแรก และมีอัตราสูงสุดครั้งแรกที่เวลา 4.00 . ของวันถัดมาซึ่งเป็นเวลาที่เริ่มพบการสร้างเอทิลีนในกลีบดอก จากนั้น ดอกทั้งดอกมีอัตาการผลิตเอทิลีนลดลงและเพิ่มขึ้นจนมีอัตราสูงสุดอีกครั้งที่เวลา 20.00 . ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่กลีบดอกปรากฎอาการเหี่ยวเด่นชัด ดอกมะลิลาที่ได้รับเอทิลีนความเข้มข้น 1-100 ไมโครลิตรต่อลิต เกิดการหลุดร่วงของกลีบดอกเร็วขึ้นกว่าดอกที่ไม่ได้รับเอทิลีน (ซึ่งร่วง 50% เมื่อเวลา 24.00 . ของวันที่ 2) เป็นเวลา 14 ชั่วโมง ดอกที่ได้รับเอทิลีนยังเกิดสีม่วงและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลที่กลีบดอกมากกว่าดอกที่ไม่ได้รับเอทิลีน การใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างหรือการทำงานของเอทิลีน พบว่า silver thiosulfate (STS) 1 มิลลิโมล่าร์ gibberellic acid (GA3) 100 มิลลิกรัมต่อลิตร cobalt chloride (CoCl2) 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ดอกมะลิลาเกิดการหลุดร่วงของกลีบดอกเพียง5.67, 22.33 และ 38.67% ตามลำดับ แต่การใช้ 1-methylcyclopropene (1-MCP) และ alpha-aminoisobutyric acid (AIB) ที่ความเข้มข้นต่างๆ ไม่สามารถลดการหลุดร่วงของกลีบดอกมะลิลาได้ เมื่อศึกษาผลของสารเคมีที่ยับยั้งการหลุดร่วงได้ดีทั้ง 3 ชนิดต่อการสร้างเอทิลีนในดอกมะลิลา พบว่า GA3 และ CoCl2 ช่วยลดอัตราการสร้างเอทิลีน แต่ STS กลับทำให้ดอกมีอัตราการสร้างเอทิลีนสูงกว่าดอกที่แช่ในน้ำกลั่น การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคพบว่า abscission zone ของดอกมะลิลามีลักษณะเป็นกลุ่มเซลล์ขนาดเล็ก 5-10 แถวที่บริเวณโคนกลีบดอกตั้งแต่ยังเป็นดอกตูม เมื่อเกิดการหลุดการจะเกิดการแยกกันของเซลล์เป็นแนวเฉียงขึ้นจากผิวด้านในออกไปด้านนอก แต่ดอกที่ได้รับ ไม่เกิดการแยกตัวของเซลล์แต่อย่างใด