บทคัดย่องานวิจัย

ผลของออกซินและสารยับยั้งออกซินต่อการหลุดร่วงและการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของเซลล์บริเวณ abscission zone ในดอกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ Missteen

กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ และสายชล เกตุษา

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 12 (276 หน้า)

2548

บทคัดย่อ

ผลของออกซินและสารยับยั้งออกซินต่อการหลุดร่วงและการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของเซลล์บริเวณ abscission zone ในดอกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ Missteen การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างออกซินและเอทิลีนต่อการหลุดร่วงของดอกบานกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ Missteen โดยการใช้สารยับยั้งการทำงานของออกซิน [2-(4-chlorophenoxy)-2-methyl propionic acid] ความเข้มข้น 20 ไมโครกรัม/ดอก และการให้สารยับยั้งการเคลื่อนย้ายของออกซิน (2} 3} 5-triiodobenzoic acid) ความเข้มข้น 25 ไมโครกรัม/ดอก หยดลงบนแอ่งเกสรตัวเมียของดอกบาน ร่วมกับการได้รับหรือไม่ได้รับเอทิลีน พบว่าการให้สารทั้งสองชนิดมีผลทำให้ดอกบานร่วง 80-100% การศึกษากายวิภาคของเซลล์บริเวณ abscission zone ก่อนช่วงเวลาการหลุดร่วง พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณ abscission zone โดยเกิดการแยกตัวของเซลล์ที่มีขนาดเล็กจำนวน 2-3 ชั้นบริเวณโคนก้านดอก เมื่อให้สารออกซินในรูปของลาโนลินที่ก้านดอกบริเวณรอยตัดหลังจากตัดดอกตูมและดอกบานออก พบว่าการร่วงของก้านดอกไม่แตกต่างจากการร่วงของดอกปกติที่ไม่ได้รับสารออกซิน ในขณะที่ก้านดอกตูมและก้านดอกบานที่ตัดดอกออกและไม่ได้รับสารออกซินมีการร่วงของก้านดอกเพิ่มขึ้น การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของเซลล์บริเวณ abscission zone ของก้านดอกที่ได้รับสารออกซินจากภายนอก พบว่าไม่มีความแตกต่างของเนื้อเยื่อ abscission zone เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อ abscission zone จากก้านดอกที่ไม่ได้ตัดดอก จากการทดลองสรุปได้ว่า ออกซินจากดอกสามารถป้องกันการหลุดร่วงของดอกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ Missteen ได้