บทคัดย่องานวิจัย

การเคลือบผิวผลสับปะรดเวียดนามพันธุ์นิงท์บิงท์ด้วยไคโตซาน/เมทิลเซลลูโลส-สารต้านจุลินทรีย์

แดง ทิ หมง เกวียน

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว) สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 196 หน้า. 2555.

2555

บทคัดย่อ

การเคลือบผิวผลสับปะรดเวียดนามพันธุ์นิงท์บิงท์ด้วยไคโตซาน/เมทิลเซลลูโลส-สารต้านจุลินทรีย์

การศึกษาผลของการเคลือบด้วยไคโตซาน/เมทิลเซลลูโลสร่วมกับสารต้านจุลินทรีย์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและอายุการเก็บของสับปะรดเวียดนามพันธุ์นิงท์บิงท์ อันดับแรกหาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บสับปะรด ศึกษาผลของสภาวะอุณหภูมิที่แตกต่างกัน (9, 12, 15 และ 20°C ± 1°C) ที่สภาวะความชื้นสัมพัทธ์สูงต่อดัชนีการสะท้านหนาว การสูญเสียน้ำหนัก ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทรเทรตได้ ความแน่นเนื้อ สี ปริมาณเอทานอล และการเจริญจุลินทรีย์ของผลสับปะรดระหว่างการเก็บรักษา 30 วัน สำหรับสับปะรดที่เก็บที่อุณหภูมิ 12, 15 และ 20°C ในการเก็บรักษา 20 วัน ไม่เกิดอาการสะท้านหนาว ในขณะที่อาการสะท้านหนาวปรากฏสำหรับผลสับปะรดที่เก็บรักษาที่ 9 องศา เป็นเวลา 20 วัน และเกิดอาการสีน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างมากจนถึงวันสุดท้ายของการเก็บ ยิ่งกว่านั้นค่าของการสูญเสียน้ำหนักที่ต่ำที่สุด ความแน่นเนื้อที่มากที่สุด และสีที่อ่อนสุดได้จากการเก็บรักษาผลสับปะรดที่อุณหภูมิ 12 องศาเซลเซียส ดังนั้นที่ 12°C และ 85%RH เป็นสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บรักษาสับปะรดเพื่อที่จะยืดอายุการเก็บรักษาและใช้สำหรับการเคลือบผลสับปะรดในการศึกษาครั้งนี้

อีกการทดลองคือการพัฒนาฟิล์มไคโตซาน/เมทิลเซลลูโลสร่วมกับสารต้านจุลินทรีย์ (คาร์-เบนดาซิม) ฟิล์มไคโตซาน/เมทิลเซลลูโลส (C/MC) ถูกเตรียมจากไคโตซานต่อเซลลูโลส 1.5:1.0 เป็นตัวควบคุมและผสมร่วมกับคาร์เบนดาซิมในปริมาณต่างๆ กัน (0.8, 1.6, 3.2 และ 4.8 กรัม/100 กรัม ของของแข็ง C/MC)จากนั้นตรวจสอบผลของปริมาณคาร์เบนดาซิมต่อสมบัติของฟิล์ม การผสมไคโตซานลงในฟิล์มเป็นผลทำให้ฟิล์มไม่เป็นเนื้อเดียวกัน การเพิ่มปริมาณคาร์เบนดาซิมทำให้ฟิล์มขรุขระและไม่เป็นเนื้อเดียวกัน การเพิ่มปริมาณคาร์เบนดาซิมทำให้ความขุ่นของฟิล์มเพิ่มขึ้น ความสามารถในการต้านทานแรงดึงและเปอร์เซ็นต์การยืดของฟิล์มลดลงเล็กน้อย เมื่อระดับของคาร์เบนดาซิมในฟิล์มเพิ่มมากกว่า 1.6 กรัม/ 100 กรัม ของของแข็ง C/MCความสามารถในการต้านทานก๊าซออกซิเจนและไอน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อปริมาณคาร์เบนดาซิมเพิ่มขึ้น ความสามารถในการละลายน้ำและปริมาณความชื้นที่จุดสมดุลมีค่าต่ำที่สุดในฟิล์มที่มีคาร์เบนดาซิมร่วมอยู่ 1.6กรัม ยิ่งกว่านั้นคาร์เบนดาซิมแสดงการยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae)และรา (Aspergillus oryzae)ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อฟิล์มมีปริมาณคาร์เบนดาซิมมากว่า 1.6กรัม/ 100 กรัม ของของแข็ง C/MC ดังนั้น C/MCร่วมกับ 1.6 กรัม คาร์-เบนดาซิม เป็นฟิล์มที่ดีที่สุดและถูกเลือกใช้ในการเคลือบผลสับปะรด

สุดท้าย การศึกษาผลของปัจจัยร่วมระหว่างอุณหภูมิการเก็บรักษาที่เหมาะสมกับการเคลือบเพื่อการยืดอายุผลสับปะรดหลังการเก็บเกี่ยว สารละลายฟิล์มต้านจุลินทรีย์สามชนิดถูกใช้ในการเคลือบผลสับปะรด คือ C/MC, C/MC ร่วมกับ คาร์เบนดาซิมและ C/MC ร่วมกับวานิลิน ผลของการเคลือบสามารถยืดการเปลี่ยนแปลงของของแข็งที่ละลายน้ำได้ ความแน่นเนื้อ สี และปริมาณเอทา-นอล โดยเฉพาะผลของสับปะรดที่เคลือบด้วยคาร์เบนดาซิมมีค่าของเอทานอลต่ำที่สุด และค่าของแข็งที่ละลายน้ำได้ ความแน่นเนื้อ และ ความสว่างของสีผล (L*) สูงที่สุด ณ การเก็บรักษาที่ 30 วัน การเคลือบด้วยสารละลายทั้งสามชนิดสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์บนผิวของผลสับปะรดได้ สารละลาย C/MC-คาร์เบนดาซิมมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ (total aerobic counts, TAC)ได้ดีกว่า C/MC-วานิลิน และสับปะรดที่เคลือบด้วย C/MC-คาร์เบนดาซิมมีปริมาณของ TAC น้อยกว่าสารควบคุม 10 เท่าตลอดการเก็บรักษา นอกจากนั้น ณ ที่ความชื้นสัมพัทธ์สูง การสูญเสียน้ำหนักเพิ่มขึ้นสำหรับผลสับปะรดที่เคลือบด้วย C/MC หรือ C/MC-วานิลิน ในขณะที่ยการสูญเสียน้ำหนักไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผลสับปะรดที่เคลือบสารและไม่ได้เคลือบสาร