บทคัดย่องานวิจัย

ชีววิทยาของการเข้าทำลาย การเกิดโรค การควบคุมโรคปื้นดำและโรคผลเน่าของลองกอง (Aglaia dookkoo Griff.) ในระยะก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว

ธัญมน สังข์ศิริ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (โรคพืช) คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 98 หน้า. 2554.

2554

บทคัดย่อ

ชีววิทยาของการเข้าทำลาย การเกิดโรค การควบคุมโรคปื้นดำและโรคผลเน่าของลองกอง (Aglaia dookkoo Griff.) ในระยะก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว

การจำแนกชนิดของเชื้อราสาเหตุโรคปื้นดำบนผลลองกองทั้งลักษณะทางสัณฐานวิทยาและอณูวิทยาพบว่าเกิดเชื้อรา Leptoxyphium sp. ซึ่งยังไม่เคยมีรายงานในประเทศไทย ลำดับนิวคลีโอไทด์มีความเหมือนกับเชื้อรา L. madagascariense CBS 124766 97% โดยที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเชื้อรา  L. madagascarienseและ L.  fumagoการเกิดโรคปื้นดำในระยะต่างๆ ของการเจริญของดอกและผล พบว่าเชื้อราเริ่มเข้าทำลายที่ผลอายุ 45 วัน มีอัตราเพิ่มขึ้นตามอายุของผล โดยเชื้อรา Leptoxyphium sp. เจริญอยู่บนส่วนของ EFNs (extrafloral nectaries) และแผ่ออกไปบนขนของเปลือกลองกอง ซึ่งไม่พบการเข้าทำลายลงในเนื้อเยื่อพืช เมื่อผลลองกองมีอายุเพิ่มมากขึ้นพบว่าบริเวณ secretory tissue ของ EFNs มีการสะสมของ lignin และ suberin มากขึ้น ซึ่ง secretory poleมีลักษณะผิวเรียบ ไม่พบรอยแตกแยกแต่พบรูเปิดบริเวณรอบ ๆ secretory poleซึ่งเป็นบริเวณช่องทางที่น้ำหวานถูกขับออกมาภายนอกผล พบน้ำตาล 3 ชนิดในน้ำหวาน คือ fructose sucrose และ glucose และนำน้ำหวานดังกล่าวมาทดสอบความงอกของสปอร์เชื้อรา Phomopsis sp. Colletotrichum gloeosporioidesและ Leptoxyphium sp. พบว่าที่ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ 20.0  ํBrix สปอร์ของเชื้อราจะงอกที่ 87.3  54.3 และ 20.0%ตามลำดับ

 การควบคุมโรคปื้นดำบนผลลองกอง โดยการจุ่มด้วย azoxystrobin 125 ppm และ Bacillus subtilisในฤดูที่ 1 (2552) การฉีดพ่นด้วย carbendazim 1,500 ppm mancozeb 1,500 ppm sodium hypochlorite 5,000 ppm และ citric acid  200 ppm ในฤดูที่ 2 (2553) โดยการควบคุมทุก 2 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว พบว่า azoxystrobin (ฤดูที่ 1) และ carbendazim (ฤดูที่ 2) สามารถลดการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้สารเคมี mancozeb 1,500 ppmและ carbendazim 1,500 ppmควบคุมโรคปื้นดำ 1 สัปดาห์ ก่อนเก็บเกี่ยว พบว่าทั้ง 2 กรรมวิธีไม่สามารถควบคุมโรคได้ การควบคุมโรคผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยวโดยการฉีดพ่นด้วย carbendazim 1,500 ppm mancozeb 1,500 ppm sodium hypochlorite 5,000 ppm และ citric acid  200 ppmทุก 2 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว พบว่า carbendazimสามารถลดการเกิดโรคและลดการร่วงของช่อผลได้ดีที่สุด การใช้สารเคมีและน้ำร้อนหลังการเก็บเกี่ยว พบว่ากรรมวิธีที่จุ่มด้วย prochloraz 750 ppm น้ำร้อนอุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส และ prochloraz 750 ppmที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส สามารถลดการเกิดโรคผลเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจสอบปริมาณ prochlorazที่ตกค้างบนผลลองกอง พบว่ามีปริมาณสารตกค้าง 0.71 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งปลอดภัยต่อผู้บริโภคในวันที่ 3 หลังการจุ่มช่อผลตามข้อกำหนดของ Codex