บทคัดย่องานวิจัย

ผลของก๊าซไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานในระหว่างการเก็บรักษา

ณกัญญา พลเสน

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 105 หน้า. 2553.

2553

บทคัดย่อ

ผลของก๊าซไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานในระหว่างการเก็บรักษา

เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานมีความสำคัญในการผลิตข้าวโพดหวาน แต่เมล็ดเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วในระหว่างการเก็บรักษา จึงทำให้มีการศึกษาเทคนิคและวิธีการต่างๆ เพื่อรักษาเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพดี งานวิจัยนี้ได้ทดลองเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน 2พันธุ์ ในถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่มีก๊าซไนโตรเจน 100เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนไดออกไซด์ 100เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนไดออกไซด์ 60เปอร์เซ็นต์ร่วมกับไนโตรเจน 40เปอร์เซ็นต์ และอากาศปกติ (ชุดควบคุม) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 30และ 40องศาเซลเซียส นาน 8เดือน โดยเมล็ดข้าวโพดหวานพันธุ์ WTS 111มีค่าเริ่มต้นของปริมาณการปนเปื้อนของเชื้อรา ปริมาณไขมัน กิจกรรมของเอนไซม์ไลเปส และกิจกรรมของเอนไซม์คะตะเลส สูงกว่าพันธุ์ CPS 222แต่ความชื้นในเมล็ด และปริมาณโปรตีนน้อยกว่าพันธุ์ CPS 222ส่วนความงอก ความงอกภายหลังการเร่งอายุ และปริมาณกรดไขมันอิสระในเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานทั้ง 2พันธุ์ มีค่าไม่แตกต่างกัน หลังจากเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 40องศาเซลเซียส นาน 4เดือน เมล็ดพันธุ์ WTS 111มีความงอกต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืชของไทย (เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเท่ากับ 75.0เปอร์เซ็นต์) ส่วนพันธุ์ CPS 222มีอายุการเก็บรักษาเพียง 2เดือนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเก็บรักษาเป็นระยะเวลานาน 8เดือน ที่อุณหภูมิต่ า (10และ 30องศาเซลเซียส) เมล็ดพันธุ์ WTS 111และ CPS 222มีความงอก 86-87เปอร์เซ็นต์ และ 80-82เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และทั้ง 2พันธุ์ มีความงอกภายหลังการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ลดลงอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากการปนเปื้อนของเชื้อราสูงที่สุดในเดือนที่ 1เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 40องศาเซลเซียส และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10องศาเซลเซียส ทั้ง 2พันธุ์ มีปริมาณโปรตีน ปริมาณไขมัน ปริมาณกรดไขมันอิสระ กิจกรรมของเอนไซม์ไลเปส และกิจกรรมเอนไซม์คะตะเลสเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิ 30และ 40องศาเซลเซียส สำหรับผลขององค์ประกอบของสภาพบรรยากาศในถุงบรรจุพบว่าไม่มีผลต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์ WTS 111อย่างไรก็ตามเมื่อใช้คาร์บอนไดออกไซด์ 60เปอร์เซ็นต์ร่วมกับไนโตรเจน 40เปอร์เซ็นต์ สามารถชะลอการปนเปื้อนของเชื้อราและการลดลงของปริมาณโปรตีนได้ดีที่สุด ในขณะที่เมล็ดพันธุ์ CPS 222เก็บรักษาในสภาพก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 100เปอร์เซ็นต์ หรือคาร์บอนไดออกไซด์ 60เปอร์เซ็นต์ร่วมกับไนโตรเจน 40เปอร์เซ็นต์ ชะลอการสูญเสียความงอกและการปนเปื้อนของเชื้อราได้ดีกว่าในสภาพไนโตรเจน 100เปอร์เซ็นต์และอากาศปกติ แต่องค์ประกอบของก๊าซในถุงบรรจุไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณไขมันและความงอกภายหลังการเร่งอายุในเมล็ดข้าวโพดหวานทั้ง 2พันธุ์ เมื่อวัดปริมาณกรดไขมันอิสระพบว่า เมล็ดพันธุ์ WTS 111เก็บรักษาในสภาพคาร์บอนไดออกไซด์ 100เปอร์เซ็นต์มีค่าต่ำที่สุด แต่ไม่พบความแตกต่างในพันธุ์ CPS 222ส่วนอุณหภูมิและองค์ประกอบของก๊าซในถุงบรรจุไม่มีผลต่อความชื้นในระหว่างการเก็บรักษา

ดังนั้นการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานทั้ง 2พันธุ์ บรรจุในถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานาน 8เดือน ทำให้ความงอกมีค่าสูงกว่า 80เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากชะลอการปนเปื้อนของเชื้อรา และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของเมล็ด การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ CPS 222ในถุงบรรจุที่เติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 100เปอร์เซ็นต์ และคาร์บอนไดออกไซด์ 60เปอร์เซ็นต์ร่วมกับไนโตรเจน 40เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีความงอกสูงกว่าไนโตรเจน 100เปอร์เซ็นต์ และอากาศปกติ แต่องค์ประกอบของก๊าซไม่มีผลต่อพันธุ์ WTS 111