บทคัดย่องานวิจัย

ผลของฟิล์มพลาสติกชนิดต่างๆ และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อการเจริญเติบโต และการทำลายของด้วงงวงข้าว Sitophilus oryzea (L.) บนข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

กุลวิชญ์ พานิชกุล

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว) สถานวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 100 หน้า. 2552.

2552

บทคัดย่อ

ผลของฟิล์มพลาสติกชนิดต่างๆ และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อการเจริญเติบโต และการทำลายของด้วงงวงข้าว Sitophilus oryzea (L.) บนข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

การศึกษาผลของฟิล์มพลาสติกชนิดต่างๆ (LDPE/CPP, LLDPE/CPP, PET/LLDPE and Foil/MPET/LLDPE)ต่อการเจริญเติบโต และการเข้าทำลายของด้วงงวงข้าว Sitophilus oryzea (L.)บนข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พบว่า อัตราการซึมผ่านของก๊าซในชนิดของฟิล์มมีความสอดคล้องกับปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรจุภัณฑ์ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ LDPE/CPP > LLDPE/CPP > PET/LLDPE > Foil/MPET/LLDPEโดยชนิดของฟิล์มที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์มีผลกระทบต่อระยะเวลาเจริญเติบโตของแมลง ตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลกระทบต่ออายุขัยของตัวเต็มวัยมากที่สุด เมื่อบรรจุข้าวสารในถุงแล้วปล่อยด้วงงวงข้าวตัวเต็มวัยลงในบรรจุภัณฑ์ ปิดผนึกแล้วเก็บรักษาไว้ 15 วัน พบว่า การตายของด้วงงวงข้าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ โดย Foil/MPET/LLDPE และ PET/LLDPEมีผลทำให้แมลงตายสูงสุด รองลงมาได้แก่ LLDPE/CPP