บทคัดย่องานวิจัย

ผลของสารละลายน้ำตาล Sorbitol Mannitol Thidiazuron และ Ascorbic acid ต่ออายุการปักแจกันของดอกขิงแดง (Alpinia purpurata (Vieill.) K.Schum)

ภรณ์พรรณ เอี่ยมทิม

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 122 หน้า. 2550.

2550

บทคัดย่อ

ผลของสารละลายน้ำตาล Sorbitol Mannitol Thidiazuron และ Ascorbic acid ต่ออายุการปักแจกันของดอกขิงแดง (Alpinia purpurata (Vieill.) K.Schum)

การศึกษาผลของสารละลายน้ำตาล Sorbitol และ Mannitol ที่ระดับความเข้มข้น 0 (น้ำกลั่น) 0.5  1 และ 2%  ต่ออายุการปักแจกันของดอกขิงแดง (Alpinia purpurata (Vieill.) K. Schum) พบว่าดอกขิงแดงที่ปักในสารละลายน้ำตาล Sorbitol และ Mannitol มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสดและอัตราการดูดน้ำลดลงมากกว่าดอกขิงแดงที่ปักในน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามสารละลายน้ำตาล Sorbitol และ Mannitol ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีกลีบประดับ นอกจากนั้นดอกขิงแดงที่ปักในสารละลายน้ำตาล Sorbitol และ Mannitol ยังมีปริมาณแอนโทไซยานินสูง  อัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีนสูงกว่าดอกขิงแดงที่ปักในน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) โดยดอกขิงแดงที่ปักในสารละลายน้ำตาล Sorbitol และ Mannitol ที่ระดับความเข้มข้น 2% และ 1% มีอายุการปักแจกันนานที่สุดเท่ากับ 11.7 และ 11.4 วัน ตามลำดับ ซึ่งมีอายุการปักแจกันนานกว่าที่ดอกขิงแดงที่ปักในน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) ถึง 3.7 และ 3.4 วัน ตามลำดับ  การศึกษาผลของสารละลาย Thidiazuron (TDZ) ที่ระดับความเข้มข้น 0 (น้ำกลั่น)  5  10  15  30 และ 45 µM  ต่ออายุการปักแจกันของดอกขิงแดง พบว่า สารละลาย TDZ ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสด อัตาการดูดน้ำ และการเปลี่ยนแปลงสีกลีบประดับของดอกขิงแดง อย่างไรก็ตามดอกขิงแดงที่ปักในสารละลาย TDZ มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงกว่า แต่มีอัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีนต่ำกว่าดอกขิงแดงที่ปักในน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) โดยดอกขิงแดงที่ปักในสารละลาย TDZ ที่ระดับความเข้มข้น 15 µM มีอายุการปักแจกันนานที่สุดเท่ากับ 11.4 วัน ซึ่งมีอายุการปักแจกันนานกว่าดอกขิงแดงที่ปักในน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) ถึง 3.4 วัน และการศึกษาผลของสารละลาย Ascorbic acid ที่ระดับความเข้มข้น 0  0.01  0.05 และ 0.1% ต่ออายุการปักแจกันของดอกขิงแดง  พบว่า สารละลาย Ascorbic acid ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสด  อัตราการดูดน้ำ และการเปลี่ยนแปลงสีกลีบประดับของดอกขิงแดง อย่างไรก็ตามดอกขิงแดงที่ปักในสารละลาย Ascorbic acid มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงกว่าแต่มีอัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีนต่ำกว่าดอกขิงแดงที่ปักในน้ำกลั่น  (ชุดควบคุม) โดยดอกขิงแดงที่ปักในสารละลาย Ascorbic acid ที่ระดับความเข้มข้น 0.1% มีอายุการปักแจกันนานที่สุดเท่ากับ 11.6 วัน ซึ่งมีอายุการปักแจกันนานกว่าที่ดอกขิงแดงที่ปักในน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) ถึง 3.6 วัน