บทคัดย่องานวิจัย

ผลของพารามิเตอร์ทางกลที่มีต่อความสามารถในการนวดทานตะวัน

Somposh Sudajan, Vilas M. Salokhe, Somnuk Chusilp and Vichian Plermkamon

การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4. วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. เลขหน้า 138. (666 หน้า)

2546

บทคัดย่อ

ผลของพารามิเตอร์ทางกลที่มีต่อความสามารถในการนวดทานตะวัน   ชุดนวดทานตะวันถูกออกแบบและสร้างเพื่อศึกษาผลของตัวแปรและข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับการออกแบบเครื่องนวดทานตะวัน ในการศึกษานี้ใช้ลูกนวดแบบแถบเหล็กลูกฟูกโดยแปรค่าขนาดรูตะแกรงนวด 3 ขนาด ระยะห่างระหว่างแถบเหล็กลูกฟูกกับตะแกรงนวด 4 ระดับ และความเร็วในการนวด 4 ระดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า รูตะแกรงนวดขนาด 11 x 60 มม. มีความเหมาะสมในการนวดทานตะวัน ความสามารถในการทำงานไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อใช้ระยะระหว่างลูกนวดกับตะแกรงนวด 29 และ 35 มม. โดยมีประสิทธิภาพการนวดมากกว่า 99% เมล็ดแตกหัก และเมล็ดสูญเสียน้อยกว่า 1.5 และ 1% ตามลำดับ เมื่อนวดทานตะวันด้วยความเร็วลูกนวด 750 ถึง 850 รอบ/นาที (10.99 ถึง 12.45 ./วินาที) และมีวัสดุที่ไม่ใช่เมล็ดร่วงผ่านตะแกรงนวดน้อยกว่าและใช้พลังงานจำเพาะต่ำสุดเมื่อใช้ระยะห่างระหว่างลูกนวดกับตะแกรงนวด 35 มม.