บทคัดย่องานวิจัย

Antibacterial Activity of Water and Alcohol Extracts of 8 Herbs

รัชนี เต๋เอียดหยอ, ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ และ อรัญ หันพงศ์กิตติกูล

การประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ. 2547 ของสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16. “นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ : หนึ่งทางเลือกเพื่อยกระดับสู่ครัวของโลก12-15 ธันวาคม พ.ศ. 2547. ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก. หน้า 57.

2547

บทคัดย่อ

Antibacterial Activity of Water and Alcohol Extracts of 8 Herbs ในการทดลองฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัดหยาบในน้ำและเอทธานอลจากพืชสมุนไพร 8 ชนิด ได้แก่ ชุมเห็ดเทศ (Cassia alata), บัวบก (Centella asiatica), มังคุด (Garcinia mangostana), กล้วยน้ำว้า (Musa sapientum), กะเพรา (Ocimum sanctum), ฝรั่ง (Psidium grajava), เบญกานี (Quercus infectoria) และ สีเสียดเทศ (Uncaria gambia) ต่อแบคทีเรียที่ก่อโรค โดยวิธี disc diffusion พบว่า สารสกัดเอทธานอลส่วนใหญ่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียได้ดีกว่าสารสกัดน้ำ สารสกัดน้ำจากเบญกานีและสีเสียดเทศมีฤทธิ์ยับยั้ง V.parahaemolyticus ต่ำ โดยมีค่า MIC 5.00 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร แต่สารสกัดเอทธานอลมีฤทธิ์ในการยับยั้งสูงโดยมีค่า MIC 0.16 และ 0.31 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ สารสกัดน้ำของมังคุดและฝรั่งมีฤทธิ์ในการยับยั้ง S.typhi ต่ำ โดยมีค่า MIC 5.00 และ >10.00 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ แต่สารสกัดเอทธานอลของกล้วยน้ำว้ามีฤทธิ์ในการยับยั้งสูงโดยมีค่า MIC อยู่ในช่วง 0.16-0.31 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สารสกัดเอทธานอลของเบญกานีมีฤทธิ์ในการยับยั้ง S.aureus สูง โดยมีค่า MIC 0.16 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สารสกัดเอทธานอลของปลีกล้วยและเบญกานีมีฤทธิ์ยับยั้ง L.monocytogenes โดยมีค่า MIC 0.08 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร