บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาเชื้อสตัฟฟิลโลคอคไคในเนื้อโคชำแหละตามตลาดสดในเขตกรุงเทพมหานคร

จริยา ชมวารินทร์

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จุลชีววิทยา)) สาขาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2524. 110 หน้า.

2524

บทคัดย่อ

การศึกษาเชื้อสตัฟฟิลโลคอคไคในเนื้อโคชำแหละตามตลาดสดในเขตกรุงเทพมหานคร อาหารประเภทเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อโคได้รับการบริโภคอย่างแพร่หลาย เนื้อโคชำแหละที่ขายอยู่ตามตลาดสดในเขตกรุงเทพมหานคร ย่อมมีจุลิทรีย์หลายชนิดปะปนอยู่เนื่องจากขบวนการชำแหละ การขนส่ง และอื่น ๆ การแพร่กระจายของเชื้อบักเตรี Staphylococcus aureus สายพันธุ์ต่าง ๆ เป็นที่น่าสนใจ เพราะสามารถทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ จัดว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเนื้อโคด้วย ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะศึกษาการแพร่กระจายของเชื้อนี้ในเนื้อโคชำแหละ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาถึงเรื่องนี้ และ Staphylococcus aureusจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคทั้งในด้านการป้องกันเกี่ยวกับอาหารเป็นพิษ และการป้องกันไม่ให้เนื้อโคเน่าเสียเร็ว เพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของผู้บริโภคด้วย

วิธีการศึกษาทำโดยการเก็บตัวอย่างเนื้อโคชำแหละจากตลาดสดทั้งหมดจำนวนทั้งสิ้น 109 ตัวอย่าง จาก 81 ตลาด 19 เขตอำเภอ ปรากฏว่า จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์สูงมาก คือมีตั้งแต่ 1.7 x 106 – 1.55 x 1011 เซลต่อกรัม และโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.39 x 109 เซลต่อกรัม จำนวนสตัฟฟิลโลคอคไคทั้งหมดมีตั้งแต่ 2.47 x 104 – 2.89 x 108 เซลต่อกรัม และโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.39 x 107 เซลต่อกรัม สำหรับจำนวน Staphylococcus aureus พบทุกตัวอย่างมีตั้งแต่ 2.17 x 103 –9.46 x 106 เซลต่อกรัม จำนวน Staphylococcus aureus เฉลี่ยทุกตัวอย่างเท่ากับ 1.13 x 106 เซลต่อกรัม จำนวน isolate ทั้งหมดที่สุ่มแยกได้ 354 isolate จำพวกที่ให้สีทอง 18.08%, สีเหลือง 61.02%, สีขาว 20.9% ส่วนพวกที่สร้าง coagulase มีจำนวน 58.75% สำหรับการเกิด hemolysin ปรากฏว่าพวกa-hemolysin 3.10%, พวก b-hemolysin 1.41%, พวก g-hemolysin 0.85% พวก partial-hemolysis 50% และพวก non- hemolysis 44.63%