บทคัดย่องานวิจัย

การสร้างเครื่องวัดเนื้อสัมผัสอัตโนมัติ

สกาวรัตน์ กษมาประพฤทธิ์ และฉัตรชัย คุณค้ำชู

โครงงานวิศวกรรมการอาหาร (วศ.บ. (วิศวกรรมการอาหาร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541. 50 หน้า.

2541

บทคัดย่อ

การสร้างเครื่องวัดเนื้อสัมผัสอัตโนมัติ           เครื่องมือวัดเนื้อสัมผัสอัตโนมัตินี้ ออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อวัดลักษณะเนื้อสัมผัสของอาหารโดยพยายามออกแบบเครื่องมือเพื่อใช้วัดค่าทางกายภาพที่แสดงถึงความรู้สึกสัมผัสของมนุษย์ เป็นเครื่องมือวัดค่าแรงต้านที่เกิดจากสัมผัส เช่น แรงกด (compression force) แรงเฉือนแยก (shear force) แรงตัด (Cutting Force) แรงฉีก (Tensile Strength) ค่าที่ได้จะแสดงออกมาเป็นกราฟระหว่างแรงต้านการสัมผัสและเวลา ซึ่งกราฟที่ได้จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะของเนื้อสัมผัสของตัวอย่างที่นำมาทดสอบทำให้ทราบถึงแรงที่มากทีสุดที่วัสดุสามารถรับได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญกับเนื้อสัมผัส การทำงานของเครื่องเริ่มโดยการวางชิ้นทดสอบมาตรฐานลงบนแท่นที่ใช้สำหรับทดสอบ จากนั้นทำการเลือกประเภทของการทดสอบว่าเป็นแบบใด เช่น แบบดึง หรือแบบกด โดยเลือกจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำไว้ เมื่อสั่งให้ทำการทดสอบ คอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณไปสั่งมอเตอร์ให้หมุนตามทิศทางที่ต้องการที่จะทำให้หัวทดสอบกดหรือดึงวัสดุตัวอย่าง Load Cell ที่ต่ออยู่กับหัวทดสอบจะแปลงค่าแรงที่ได้เป็น Voltage แล้วผ่านไปยัง Amplifier เพื่อขยายสัญญาณให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมที่จะส่งเข้า A/D จะเปลี่ยน สัญญาณที่ส่งเข้ามาให้อยู่ในรูปของเลขฐาน 16 แล้วส่งเข้า Computerผ่านโปรแกรมที่ใช้เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องและเปลี่ยนค่าที่รับจาก Load Cell ผ่าน A/D ให้อยู่ในรูปกราฟระหว่าง แรง(kg) กับเวลา(s)