บทคัดย่องานวิจัย

การวิเคราะห์อุปสงค์การบริโภคเนื้อสุกรในประเทศไทย

นิยม ชื่นนิรันดร์

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เศรษฐศาสตร์เกษตร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2527. 118 หน้า.

2527

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์อุปสงค์การบริโภคเนื้อสุกรในประเทศไทย  ในกลุ่มของอาหารประเภทเนื้อสัตว์ด้วยกันแล้ว ถือได้ว่าคนไทยนิยมบริโภคเนื้อสุกรมากที่เป็นอันดับ 2 รองจากเนื้อปลา แต่เมื้อคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อแล้ว ในปี พ.ศ.2521 คนไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเนื้อสุกรมากที่สุด คือประมาณ 141.93 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 38.95 ของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ด้วยกันทั้งนี้เนื่องจากสุกรที่ชำแหละแล้วสามารถบิโภคได้แถบทุกส่วนตามค่านิยมของคนไทย

ปริมาณการบริโภคเนื้อสุกรในประเทศต่อคนตามอาชญาบัตร ซึ่งไม่รวมปริมาณฆ่าเถื่อน ในช่วงระหว่างปี 2508 ถึงปี2522 เฉลี่ยเท่ากับ 1.59 กิโลกรัม ต่อคนต่อปี โดยประชากรในเขตภาคกลางมีการบริโภคมากกว่าภาคอื่นๆ คือ ประมาณ 4.5 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่ถ้าปรับด้วยปริมาณสุกรที่ฆ่าเถื่อนด้วยแล้ว ปริมาณการบริโภคจะเพิ่มสูงขึ้น คือเฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 4.46 กิโลกรัม ต่อคนต่อปี และเฉพาะภาคกลางเฉลี่ย 12.21 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งสูงกว่าปริมาณการฆ่าตามอาชญาบัตรทั้งประเทศในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ และไม่สอดคล้องกับกับปริมาณการผลิตในแต่ละปี เช่น ปริมาณการผลิตสุกรในปี 2516เพิ่มขึ้นจากปี 2515 ประมาณร้อยละ 12 แต่ปริมาณการบริโภคลดลงร้อยละ 9.9 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าให้เห็นว่า จำนวนสุกรที่ถูกฆ่าเป็นอาหารโดยเสียอาชญาบัตรนั้นต่ำกว่าปริมาณที่ฆ่าจริง ซึ่งหมายความว่า มีการลักลอบฆ่าเถื่อน กับอยู่ทั่วไปแทบทุกภูมิภาค

ในด้านการส่งออกสุกรมีชีวิตนั้น ตลาดต่างประเทศที่สำคัญ คือ ฮ่องกง ปริมาณการส่งออกไม่ค่อยแน่นอน กล่าวคือ ประเทศไทยเคยส่งได้มากที่สุดในปี พ.ศ. 2505 จำนวน 110,007 ตัว มีมูลค่าการส่งออกกว่า 69 ล้านบาท อุปสรรคที่สำคัญในการส่งออกคือ ปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งต่างประเทศถือว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆจึงไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าเนื้อสัตว์ประเภท โค กระบือ และสุกร จากประเทศไทย

ในด้านการผลิตนั้น จำนวนสุกรที่เลี้ยงในแต่ละปีมีไม่แน่นอนปี พ.ศ. 2520 มีการเลี้ยงสุกรมากที่สุด เท่ากับ 4.4 ล้านตัว เมื่อเปรียบเทียบจำนวนสุกรที่เลี้ยงต่อจำนวนประชากร 1 คน ปรากฏว่า มีอัตราส่วนที่ลดลงเรื่อยๆ กล่าวคือ ในช่วงระหว่างปี 2508 – 2521 จำนวนสุกรต่อจำนวนประชากร 1 คน ลดลงร้อยละ 3.31 ต่อปี ในขณะที่รายได้ต่อบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.48 ต่อปี

ราคาสุกรจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามวัฏจักรวงจรละ 4 ปี เมื่อราคาสุกรลดลงถึงจุดต่ำสุดแล้วในช่วงระยะเวลา 2 ปี ราคาสุกรก็จะเริ่มขึ้นอีก

สำหรับปริมาณการบริโภคเนื้อสุกรเฉพาะที่ฆ่าโดยเสียอาชญาบัตร ปรากฏว่าภาคกลางเป็นภาคที่มีการบริโภคเนื้อสุกรมากที่สุดกล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2522 ปริมาณการบริโภคเนื้อสุกรในภาคกลางที่เท่ากับ 2.29 ล้านตัว ภาคเหนือมีการบริโภค 0.54 ล้านตัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เท่ากับ 0.43 ล้านตัว และภาคใต้เท่ากับ 0.39 ล้านตัว แต่เมื่อคิดเป็นจำนวนเนื้อสุกรที่บริโภคต่อคนต่อปีแล้ว ปรากฏว่าภาคกลางเป็นภาคที่มีการบริโภคสูงกว่าทุกภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีการบริโภคต่ำที่สุด กล่าวคือ ภาคกลางมีค่าเท่ากับ 4.5 ก.ก. ภาคใต้เท่ากับ 1.89 ก.ก. ภาคเหนือ 0.75 ก.ก. และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เท่ากับ 0.66 ก.ก. ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์อุปสงค์การบริโภคเนื้อสุกร ปรากฏว่า ทุกภาคให้สมการอุปสงค์ที่มีค่าความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณการบริโภคเนื้อสุกร กับตัวแปรอิสระทุกตัว สอดคล้องกับทฤษฎีการบริโภค กล่าวคือ ภาคเหนือให้ค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นต่อราคาสุกรเท่ากับ -1.95 ต่อราคาเนื้อไก่ เท่ากับ 1.76 และต่อรายได้เท่ากับ 0.84 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นต่อราคาเนื้อสุกร เท่ากับ-0.96 ต่อราคาเนื้อไก่ เท่ากับ 0.37 และต่อรายได้เท่ากับ 1.01 ภาคกลางให้ค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นต่อราคาเนื้อสุกร เท่ากับ -0.92 ต่อราคาเนื้อโคเท่ากับ 0.28 และต่อรายได้เท่ากับ 0.78 ภาคใต้ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นต่อราคาเหนือสุกรเท่ากับ -0.15 ต่อราคาเนื้อโค เท่ากับ 0.86 และต่อรายได้ เท่ากับ 2.85 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกันทั้ง 4 ภาคแล้ว ปรากฏว่า ภาคเหนือเป็นภาคที่มีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาเนื้อสุกรและต่อราคาเนื้อไก่สูงกว่าทุกภาค ภาคใต้เป็นภาคที่มีความยืดหยุ่นต่อราคาเนื้อสุกรต่ำที่สุดและการทดแทนมีน้อยที่สุด แต่มีค่ายืดหยุ่นต่อราคาเนื้อสุกรใกล้เคียงกันแต่ค่าความยืดหยุ่นต่อราคาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าสูงกว่าภาคกลาง ทั้งนี้เนื่องจากกลางเป็นภาคที่มีอัตราการบริโภคเนื้อสุกรต่อคน ต่อปี สูงกว่าทุกภาค กล่าวคือ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2508-2522 บริโภคเท่ากับ 4.5 ก.ก. ต่อคนต่อปี ในขณะที่การบริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่านี้มาก

ผลการคาดคะเนปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อสุกรซึ่งรวมทั้งเนื้อสุกรที่ถูกฆ่าเถื่อนแล้วในระยะเวลา 7 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ. 2524-2530 ปรากฏว่าภาคกลางเป็นภาคที่มีความต้องการบริโภคเนื้อสุกรสูงสุด กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2530 มีความต้องการบริโภคเท่ากับ 13.5 ล้านตัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความต้องการบริโภคต่ำสุด คือ 2.8 ล้านตัว คิดเป็นร้อยละ 21.02 ของปริมาณความต้องการเท่ากับ 3.3 ล้านตัว ตามลำดับ สำหรับผลการคาดคะเนดังกล่าวข้างต้นนี้ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับปริมาณการบริโภคเนื้อสุกรที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติได้คาดคะเนไว้ ปรากฏว่า ค่าที่คาดคะเนอยู่ในระดับที่สูงกว่า เนื่องจากการคาดคะเนปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อสุกรในอนาคตที่มีอาศัยตัวเลขค่าใช้จ่ายของครอบครัวเป็นหลักในการคำนวณ ส่วนปริมาณการบริโภคเนื้อสุกรที่ศูนย์วิจัยได้รวบรวมไว้นั้น จำกัดขอบเขตเฉพาะเนื้อสุกรที่ทำการซื้อขายกันในตลาดค้าปลีกเท่านั้น ดังนั้นจำนวนการคาดคะเนที่สูงกว่านี้จึงเป็นปริมาณเนื้อสุกรที่เกิดจากการค่าเถื่อนเป็นครั้งคราวกระจัดกระจายอยู่ตามชนบททั่วไป ซึ่งไม่ผ่านระบบค่าปลีก

ผลการศึกษาดังกล่าวพอสรุปได้ว่า การเพิ่มปริมาณการผลิตสุกรเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการภายในภาคต่างๆนั้น ควรให้ความสำคัญกับภาคใต้และภาคเหนือก่อน ทั้งนี้ภาคใต้ราคาเนื้อสุกรมีการเคลื่อนไหวรุนแรงมาก หากประมาณสุกรเปลี่ยนแปลงไป แต่เนื่องจากการขยายตัวของรายได้ต่อความต้องการบริโภคเนื้อสุกรในภาคใต้ อยู่ในระดับที่สูงมากหากเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ จึงมีผลให้อัตราการเพิ่มความต้องการบริโภคเนื้อสุกรในภาคนี้มีสูงกว่าทุกภาค ประกอบกับปริมาณการเลี้ยงสุกรในภาคนี้ ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าทุกภาค กล่าวคือใน พ.ศ. 2521 สุกรที่เลี้ยงในภาคใต้มีเพียง 0.75 ล้านตัว หรือคิดเป็นร้อยละ 15.24 ของจำนวนสุกรที่เลี้ยงทั่งประเทศเท่านั้น สำหรับในภาพเหนือนั้นราคาเนื้อสุกรจะไม่เคลื่อนไหวรุนแรงมากเกินไปถ้าหากปริมาณเนื้อสุกรเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เนื่องจากความยืดหยุ่นต่อราคาเนื้อสุกรในภาคเหนือมีสูง การที่ราคาเนื้อสุกรต่ำลงเพียงเล็กน้อย ย่อมจะทำให้ผู้บริโภคเพิ่มการบริโภคเนื้อสุกรในสัดส่วนที่สูงซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโดยตรง