บทคัดย่องานวิจัย

การวิเคราะห์ตลาดส่งออกกุ้งสดแช่แข็งของไทย

วิคเนศวร์ วีระสุนทร

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 94 หน้า.

2532

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ตลาดส่งออกกุ้งสดแช่แข็งของไทย   กุ้งสดแช่แข็งเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออกประเภทหนึ่ง ที่ทำรายได้สูงให้แก่ประเทศไทยตลอดมา และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออก อย่างไรก็ตามปริมาณและมูลค่าส่งออกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศดังนั้นการศึกษาเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิตและการตลาดกุ้งสดแช่แข็งเพื่อการส่งออกของประเทศไทย 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบถึงเสถียรภาพของราคาปริมาณและมูลค่าการส่งออกของกุ้งสดแช่แข็งของประเทศไทยกับประเทศผู้นำเข้ากุ้งสดแช่แข็งที่สำคัญของไทย 3 . เสนอแนวทางในการขยายตลาดและวางนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพของการส่อออกกุ้งสดแช่แข็งของประเทศไทยในอนาคต

วิธีการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ค่าดัชนีความไม่มีเสถียรภาพตามวิธีการคำนวณของแมกบีน ส่วนความแปรปรวนของรายได้ใช้สูตรการคำนวณความแปรปรวนในการวิเคราะห์

ผลจากการวิเคราะห์ค่าดัชนีความไม่มีเสถียรภาพจากการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง ของประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น ค่าดัชนีความไม่มีเสถียรภาพของรายได้ ปริมาณและราคามีค่าเท่ากับ 1.09731.06167 และ 0.5344ตามลำดับ และค่าดัชนีความไม่มีเสถียรภาพการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา มีค่าดัชนีความไม่มีเสถียรภาพของรายได้ ปริมาณและราคาเท่ากับ 1.22910.9836 และ 0.5196 ตามลำดับ และจากการเปรียบเทียบค่าดัชนีความไม่มีเสถียรภาพของรายได้ ปริมาณและราคาที่คำนวณได้แสดงว่าการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งของประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาขาดเสถียรภาพเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านอุปสงค์โดยที่อุปทานคงที่และมีความยืดหยุ่นมาก

ผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนของรายได้จากการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง ประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น พบว่าความแปรปรวนของรายได้จากการส่งออกเป็นผลมาจากความแปรปรวนร่วมระหว่างราคากับปริมาณ ความแปรปรวนของปริมาณและความแปรปรวนของราคาคิดเป็นร้อยละ 76.4619.00และ 4.54 ตามลำดับ ส่วนความแปรปรวนของรายได้จากการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าความแปรปรวนของรายได้จากการส่งออกเกิดขึ้นเนื่องจากความแปรปรวนร่วมระหว่างราคากับปริมาณ โดยมีค่าความแปรปรวนร่วมระหว่างราคากับปริมาณ ค่าความแปรปรวนของปริมาณ และค่าความแปรปรวนของราคาคิดป็นร้อยละ 63.2726.48 และ 10.24 ตามลำดับ

การศึกษาพอสรุปเป็นข้อเสนอแนะได้ดังนี้ 1. การผลิตกุ้งสดแช่แข็งเพื่อการส่งออก ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องรักษาคุณภาพคือ ความสด สะอาด ปราศจาก เชื้อโรค และรักษาอุณหภูมิให้คงที่เป็นสำคัญ ดำเนินการด้านการบรรจุหีบห่อให้ได้มาตรฐานตรงตามที่แจ้งไว้ 2. เนื่องจากวัตถุดิบคือกุ้งสด มีขนาดและคุณภาพไม่สม่ำเสมอ ดังนั้น จึงควรคัดขนาดและคุณภาพกุ้งสดแช่แข็งให้แตกต่างกันตามราคาขายส่ง เพื่อเพิ่มตลาดการค้าใหม่ๆ 3. รักษาส่วนแบ่งตลาดการค้าของกุ้งสดแช่แข็งในทุกๆตลาดให้คงที่ไว้ไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยเน้นถึงการตกลงซื้อขายล่วงหน้ากับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศคู่ค้าอื่นๆ การส่งมอบกุ้งสดแช่แข็งให้ครบถ้วนตรงตามกำหนด