บทคัดย่องานวิจัย

การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานกุ้งของประเทศไทย

สุภา จันทรกุล

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. เศรษฐศาสตร์ (เศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540. 160 หน้า.

2540

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานกุ้งของประเทศไทย      กุ้งเป็นสัตว์น้ำที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ดังนั้นกุ้งจึงเป็นสัตว์น้ำที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น แหล่งที่มาของกุ้งมี 2 แหล่ง คือ จากทะเล และจากการเพาะเลี้ยง ปริมาณการจับกุ้งทะเลมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2526 จับได้ 127,584 ตัน (ร้อยละ 91.70 ของปริมาณกุ้งทั้งหมด) และปี 2536 จับได้ 95,571 ตัน (ร้อยละ 29.77) แต่กุ้งจากการเพาะเลี้ยงมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยปี 2520 จับได้ 1,590 ตัน (ร้อยละ 1.34) และปี 2536 จับได้ 225,514 ตัน (ร้อยละ 70.23) ส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้น ในปี 2520 ไทยส่งออกกุ้ง 15,616 คิดเป็นมูลค่า 1,280.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 212,867.7 ตัน มูลค่า 75,958.6 ล้านบาท ในปี 2540 ซึ่งนับว่าปริมาณการส่งออกกุ้งที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับปริมาณการผลิตกุ้งที่เพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาแบ่งเป็นหัวข้อได้ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาวะทั่วไปของการผลิต การตลาด การส่งออกกุ้งของไทย 2) เพื่อศึกษาอุปสงค์ของกุ้งภายในประเทศ และอุปสงค์กุ้งของตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา 3) เพื่อพยากรณ์การผลิต การบริโภคภายในประเทศ การส่งออกกุ้งของไทย 4) เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของอัตราการแลกเปลี่ยนต่อปริมาณการส่งออกไปญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษา พบว่า ความยืดหยุ่นของการผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงอันเนื่องมาจากพื้นที่เพาะเลี้ยงมีค่าเท่ากับ 2.3197 ส่วนความยืดหยุ่นอันเนื่องจากราคาส่งออกกุ้งไทยไปตลาดโลก มีค่าเท่ากับ 1.0611 ความยืดหยุ่นของการผลิตกุ้งทั้งหมด เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตกุ้ง จากการเพาะเลี้ยง มีค่าเท่ากับ 0.2201 และความยืดหยุ่นของการผลิตกุ้งทั้งหมด อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณส่งออกกุ้งไทยไปตลาดโลกเท่ากับ 0.0231 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ภายในประเทศอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับรายได้ที่แท้จริง ในปีที่ผ่านมา มีค่าเท่ากับ 0.7622 และอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์กุ้งภายในประเทศปีที่ผ่านมามีค่าเท่ากับ 0.7411 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ที่มีต่อการส่งออกไปญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา อันเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนมีค่าเท่ากับ 2.4427 และ 5.1529 ตามลำดับและความยืดหยุ่นของอุปสงค์ที่มีต่อการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตกุ้งของสหรัฐอเมริกา มีค่าเท่ากับ -2.8029 และความยืดหยุ่นของอุปสงค์ที่มีต่อการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้ต่อหัวที่แท้จริงของสหรัฐอเมริกา มีค่าเท่ากับ 8.5403 สำหรับการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อให้อัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มขึ้นจาก 25.38 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เป็น 30 บาท/ดอลลาร์ สรอ. พบว่า เพื่อนการส่งออกไปญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 83.83 และ 156.46 ตามลำดับ (เพิ่มขึ้นเป็น 1000,749 ตัน และ 255,796 ตัน) และเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นเป็น 38 บาท/ดอลลาร์ จะทำให้อุปสงค์ที่มีต่อการส่งออกไปญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 227.48 และร้อยละ 767.01 (179,479 ตัน และ 864,775 ตัน)