บทคัดย่องานวิจัย

การตรวจสอบหายาออกซีเตตร้าไซคลีน คลอเตตร้าไซคลีน ซัลฟาเมทาซีนและออกซิเตตร้าไซคลีน ซัลฟาเมทาซีนที่ตกค้างในเนื้อเยื่อสุกร โดยใช้ชุดตรวจสอบ เคเอส-9และเคเอส-9เอส

สมจิตร์ กันธาพรม

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2543. 110 หน้า.

2543

บทคัดย่อ

การตรวจสอบหายาออกซีเตตร้าไซคลีน คลอเตตร้าไซคลีน ซัลฟาเมทาซีนและออกซิเตตร้าไซคลีน ซัลฟาเมทาซีนที่ตกค้างในเนื้อเยื่อสุกร โดยใช้ชุดตรวจสอบ เคเอส-9และเคเอส-9เอส ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบแบบIn vitro และ in vivo เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจสอบ KS-9, KS-9S และวิธี European Four Plate Test (EFPT) โดยการหาระดับความเข้มข้นต่ำสุดของยา Oxytetracline, Chlortetracycline, Sulfadiazine และ Sulfamethazine ที่ผสมในกล้ามเนื้อ ตับ ไต และซีรั่มของไก่และยา Oxytetracline และ Sulfamethazine ที่ผสมในกล้ามเนื้อ ตับ ไต ซีรั่ม และปัสสาวะของสุกร พบว่าในการทดสอบแบบ in vitroชุดตรวจสอบ KS-9 และ KS-9S มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันในการตรวจพบยาทั้งในเนื้อเยื่อไก่และสุกร และมีประสิทธิภาพดีกว่าวิธี EFPT สำหรับการทดสอบแบบ In vivo ได้ทำการศึกษาการตรวจพบการตกค้างของยาในไก่และสุกรหลังให้กินยา (ชนิดเดียวกับการทดสอบแบบIn vitro) และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อของไก่และสุกรมาทดสอบตามระยะเวลาที่กำหนดการฆ่า จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ชุดตรวจสอบ KS-9S มีประสิทธิภาพดีกว่าชุดตรวจสอบ KS-9 และวิธี EFPT ในการตรวจสอบการตกค้างของยา Sulfadiazine และ Sulfamethazine ในเนื้อเยื่อของไก่และสุกร นอกจากนี้ชุดตรวจสอบ KS-9 และ KS-9S ยังมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบหายาต้านจุลชีพตกค้างชนิดอื่นๆ ได้ดีกว่าวิธี EFPT อีกด้วย การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าชุดตรวจสอบ KS-9S เป็นชุดตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับชุดตรวจสอบ KS-9 และวิธี EFPT ดังนั้น KS-9S จึงน่าจะนำมาใช้ในการตรวจสอบหายาต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อเยื่อของสัตว์ได้