บทคัดย่องานวิจัย

สมบัติทางความร้อนของกุ้งกุลาดำและกุ้งแชบ๊วย

สรายุทธ ชำนิกุล

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537. 85 หน้า.

2537

บทคัดย่อ

สมบัติทางความร้อนของกุ้งกุลาดำและกุ้งแชบ๊วย งานวิจัยนี้เน้นศึกษาการสร้างและปรับปรุงอุปกรณ์สำหรับหาค่าสมบัติทางความร้อนของกุ้งให้เหมาะสม และศึกษาผลของพันธุ์ (Penaeus monodon Febricius และPenaeus merguiensis de Man) วิธีการแช่แข็ง (โดยวิธี air-blast freezing และ dry-ice freezing) และอุณหภูมิ (-30(+,-)1 -18(+,-)1 และ 10(+,-)1 องศาเซลเซียส) ที่มีต่อสมบัติทางความร้อนซึ่งได้แก่ สภาพนำความร้อน ความร้อนจำเพาะ และสภาพแพร่ความร้อนและหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสมบัติทางความร้อนของกุ้ง กับพันธุ์วิธีการแช่แข็ง และอุณหภูมิโดยหาค่าสภาพนำความร้อนด้วยวิธี thermal conductivity probe ค่าสภาพนำความร้อน ค่าความร้อนจำเพาะ และสภาพแพร่ความร้อนในช่วงแช่แข็งของกุ้งกุลาดำที่แช่แข็งด้วยวิธีair-blast freezing มีค่าเท่ากับ 1.109-1.288 วัตต์/เมตร องศาเคลวิน 0.423-1.148 แคลอรี/กรัม องศาเซลเซียส และ 5.116x10-7 เมตร2/วินาที ตามลำดับ และกุ้งกุลาดำที่แช่แข็งด้วยวิธี dry-ice freezing มีค่าเท่ากับ 1.066-1.219 วัตต์/เมตร องศาเคลวิน 0.433-1.147 แคลอรี/กรัม องศาเซลเซียส และ 5.837x10-7เมตร2 /วินาที ตามลำดับ สำหรับค่าสภาพนำความร้อน ค่าความร้อนจำเพาะและค่าสภาพความร้อนในช่วงแช่แข็งของกุ้งแชบ๊วยด้วยวิธี air-blast freezing มีค่าเท่ากับ 1.116-1.304 วัตต์/เมตร องศาเคลวิน 0.516-1.206 แคลอรี/กรัม องศาเซลเซียส และ 5.908x10-7เมตร2 /วินาที และกุ้งแชบ๊วยที่แช่แข็งด้วยวิธี dry-ice freezing มีค่าเท่ากับ 1.122-1.313 วัตต์/เมตร องศาเคลวิน 0.509-1.198 แคลอรี/กรัม องศาเซลเซียส และ 5.942x10-7 เมตร2/วินาที ตามลำดับ ค่าสภาพนำความร้อนและค่าสภาพแพร่ความร้อนมีความสัมพันธ์แบบ polynomial กับพันธุ์ วิธีการแช่แข็ง และอุณหภูมิส่วนค่าความร้อนจำเพาะมีความสัมพันธ์แบบ polynomial กับพันธุ์และอุณหภูมิ