บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อเครื่องคั้นกะทิแบบใช้มือโยก

สุวันชัย นาดี และสิทธิโชค เอี่ยมอ่ำ

รายงานของนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2539. 47 หน้า.

2539

บทคัดย่อ

การศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อเครื่องคั้นกะทิแบบใช้มือโยก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อเครื่องคั้นกะทิแบบใช้มือโยก เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาเครื่องคั้นกะทิ ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ลักษณะของหน้าตัดที่ใช้คั้นกะทิ แรงโยก และปริมาณมะพร้าวที่ใช้คั้นต่อครั้ง

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1) ลักษณะของหน้าตัดที่ใช้คั้นกะทิควรเป็นหน้าตัดแบบไฮเปอร์โบลิกที่มีกรวยรองการอัด

2) แรงกดที่ใช้ในการอัดเพื่อคั้นกะทิไม่ควรต่ำกว่า 30 กิโลกรัม ที่ตำแหน่ง 80 เซนติเมตร จากจุดหมุน

3) ปริมาณมะพร้าวขูดที่ใช้คั้นต่อครั้งอยู่ในช่วง 500-1,000 กรัม

เมื่อใช้เครื่องคั้นแบบมือโยกที่มีหน้าตัดของการอัดแบบไฮเปอร์โบลิกคั้นมะพร้าวขูด 500-1,000 กรัม จะได้เปอร์เซ็นต์น้ำกะทิโดยน้ำหนัก 59.76% และอัตราการคั้น 66.15 กก./ชม. โดยใช้เวลาคั้น 40 วินาทีต่อครั้ง