บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขัดขาวข้าวด้วยเครื่องขัดขาวแบบกรวยหินแกนตั้ง

ประสันต์ ชุ่มใจหาญ

วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) สาขาวิชาเครื่องจักรกลการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544. 141 หน้า.

2544

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขัดขาวข้าวด้วยเครื่องขัดขาวแบบกรวยหินแกนตั้ง   การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการขัดขาวข้าว และศึกษาหาเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการขัดขาวข้าวด้วยเครื่องขัดขาวแบบกรวยหินแกนตั้ง โดยที่การศึกษาแบ่งออกเป็น 1) การศึกษาความเร็วเชิงเส้นที่ผิวขอบด้านบนของหินขัดขาวและอัตราการป้อนที่เหมาะสมสำหรับการขัดขาวข้าวด้วยเครื่องขัดขาวแบบกรวยหินแกนตั้ง 2) การศึกษาเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการขัดขาวข้าวด้วยเครื่องขัดขาวแบบกรวยหินแกนตั้ง และ 3) การทดสอบระยะยาวของเงื่อนไขการขัดขาวข้าวที่ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับการขัดขาวของโรงสีข้าวเอกชน โดยการศึกษาครั้งนี้เน้นศึกษาเฉพาะข้าวหอมมะลิ และใช้เครื่องขัดขาวแบบกรวยหินแกนตั้งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหินขัดขาวเท่ากับ 300 มิลลิเมตร ซึ่งผลการทดลองมีดังนี้

(1) ความเร็วเชิงเส้นที่ผิวขอบด้านบนของหินขัดขาวที่เหมาะสมสำหรับเครื่องขัดขาวแบบกรวยหินแกนตั้งอยู่ในช่วง 12-15 เมตร/วินาที ถ้าความเร็วต่ำกว่า 12 เมตร/วินาที ทำให้ค่าดัชนีความขาวและระดับการสีลดลง แต่ค่าเปอร์เซ็นต์ข้าวหักที่ได้ไม่แตกต่างกับที่ความเร็ว 12 เมตร/วินาที ถ้าความเร็วสูงกว่า 15 เมตร/วินาที ทำให้เปอร์เซ็นต์ข้าวหักและระดับการสีมีค่าเพิ่มสูงขึ้น แต่ค่าดัชนีความขาวไม่แตกต่างกับที่ความเร็ว 15 เมตร/วินาที

(2) สำหรับอัตราการป้อนที่เหมาะสมสำหรับการขัดขาวด้วยเครื่องขัดขาวแบบกรวยหินแกนตั้งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหินขัดขาวเท่ากับ 300 มิลลิเมตรเท่ากับ 400 กิโลกรัม/ชั่วโมง ถ้าอัตราการป้อนต่ำกว่า 400 กิโลกรัม/ชั่วโมง ทำให้เปอร์เซ็นต์ข้าวหักสูงขึ้น แต่ค่าดัชนีความขาวและระดับการสีมีค่าลดต่ำลง ถ้าอัตราการป้อนที่สูงกว่า 400 กิโลกรัม/ชั่วโมงได้ค่าเปอร์เซ็นต์ข้าวหักไม่แตกต่างกับอัตราการป้อน 400 กิโลกรัม/ชั่วโมง แต่ค่าดัชนีความขาวและระดับการสีมีค่าต่ำลง

(3) เงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการขัดขาวครั้งที่ 1 คือ ใช้อัตราการป้อน 400 กิโลกรัม/ชั่วโมง ระยะห่างระหว่างหินขัดขาวกับตะแกรงขัดขาวเท่ากับ 10 มิลลิเมตร ระยะห่างระหว่างหินขัดขาวกับแท่งยางขัดขาวเท่ากับ 2 มิลลิเมตร และความเร็วเชิงเส้นที่ผิวขอบด้านบนของหินขัดขาวเท่ากับ 13 เมตร/วินาที ผลการศึกษาได้ค่าเปอร์เซ็นต์ข้าวหักเท่ากับ 7.79 เปอร์เซ็นต์ ค่าดัชนีความขาวเท่ากับ 30.8 ระดับการสีเท่ากับ 3.83 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดข้าวมีขนาดความยาว ความกว้าง และความหนาเท่ากับ 7.432.14 และ 1.72 มิลลิเมตรตามลำดับ

(4) เงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการขัดขาวครั้งที่ 2 คือ ใช้อัตราการป้อน 400 กิโลกรัม/ชั่วโมง ระยะห่างระหว่างหินขัดขาวกับตะแกรงขัดขาวเท่ากับ 10 มิลลิเมตร ระยะห่างระหว่างหินขัดขาวกับแท่งยางขัดขาวเท่ากับ 2 มิลลิเมตร และความเร็วเชิงเส้นที่ผิวขอบด้านบนของหินขัดขาวเท่ากับ 13 เมตร/วินาที ผลการศึกษาได้ค่าเปอร์เซ็นต์ข้าวหักเท่ากับ 13.28 เปอร์เซ็นต์ ค่าดัชนีความขาวเท่ากับ 37.3 ระดับการสีเท่ากับ 5.36 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดข้าวมีขนาดความยาว ความกว้าง และความหนาเท่ากับ 7.422.13 และ 1.71 มิลลิเมตรตามลำดับ

(5) เงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการขัดขาวครั้งที่ 3 คือ อัตราการป้อน 400 กิโลกรัม/ชั่วโมง ระยะห่างระหว่างการขัดขาวกับตะแกรงขัดขาวเท่ากับ 10 มิลลิเมตร ระยะห่างระหว่างหินขัดขาวกับแท่งยางขัดขาวเท่ากับ 1 มิลลิเมตร และความเร็วเชิงเส้นที่ผิวขอบด้านบนของหินขัดขาวเท่ากับ 13 เมตร/วินาที ผลการศึกษาได้เปอร์เซ็นต์ข้าวหักเท่ากับ 19.51 เปอร์เซ็นต์ ค่าดัชนีความขาวเท่ากับ 44.4 ระดับการสีเท่ากับ 7.91 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดข้าวมีขนาดความยาว ความกว้าง และความหนาเท่ากับ 7.342.09 และ 1.70 มิลลิเมตรตามลำดับ

(6) การทดสอบการขัดขาวอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง โดยใช้เงื่อนไขการขัดขาวที่อัตราการป้อน 400 กิโลกรัม/ชั่วโมง ระยะห่างระหว่างหินขัดขาวกับตะแกรงขัดขาวเท่ากับ 10 มิลลิเมตร ความเร็วที่ผิวขอบด้านบนของหินขัดขาวเท่ากับ 13 เมตร/วินาที ระยะห่างระหว่างหินขัดขาวกับแท่งยางขัดขาวเท่ากับ 2 มิลลิเมตร ยกเว้นในการขัดขาวครั้งที่ 3 ใช้ระยะห่างระหว่างหิดขัดขาวกับแท่งยางขัดขาวเท่ากับ 1 มิลลิเมตร พบว่าได้เปอร์เซ็นต์ข้าวหักเฉลี่ยเท่ากับ 12.9416.23 และ 21.29 เปอร์เซ็นต์ ค่าดัชนีความขาวเฉลี่ยเท่ากับ 31.436.9 และ 42.3 และระดับการสีเฉลี่ยเท่ากับ 4.686.40 และ 7.98 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อใช้เครื่องขัดขาวเป็นเวลานาน ส่งผลให้ค่าดัชนีความขาวมีแนวโน้มลดลง

(7) การเปรียบเทียบการขัดขาวโดยเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการขัดขาวที่ได้ทำการศึกษาเมื่อทำการขัดขาว 2 ครั้ง กับการขัดขาวของโรงสีเอกชน 2 โรงซึ่งมีการขัดขาว 2 ครั้ง จากการศึกษาพบว่าการขัดขาว 2 ครั้งของการทดสอบตามเงื่อนไขที่เหมาะสมให้ค่าเปอร์เซ็นต์ข้าวหักต่ำกว่าการขัดขาวของโรงสีเอกชนลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 เท่ากับ 1.77 และ 6.26 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ให้ค่าดัชนีความขาวสูงกว่าโรงสีเอกชนลำดับที่ 1 เท่ากับ 5.1 แต่ต่ำกว่าโรงสีเอกชนลำดับที่ 2 เท่ากับ 0.5 ส่วนระดับการสีให้ค่าที่สูงกว่าโรงสีเอกชนลำดับที่ 1 เท่ากับ 1.41 เปอร์เซ็นต์ แต่ต่ำกว่าโรงสีเอกชนลำดับที่ 2 เท่ากับ 0.63 เปอร์เซ็นต์