บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเมื่อมีชีวิต ลักษณะซากและอวัยวะภายในของเนื้อ

ณรงค์ สร้อยทอง

วิทยานิพนธ์ (กส.บ.) ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2508. 40 หน้า.

2508

บทคัดย่อ

การศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเมื่อมีชีวิต ลักษณะซากและอวัยวะภายในของเนื้อ จากการศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภายนอก ลักษณะซากและลักษณะภายในของโคเนื้อ ผลปรากฏว่า

1.สหสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับลักษณะซาก สหสัมพันธ์ที่พอจะเชื่อถือได้ที่มีค่าcorrelation coefficient มีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ สามารถที่จะเอาน้ำหนักตัวเป็นเครื่องทำนายลักษณะซากได้ มีสหสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับความยาวซาก กับความลึกของหน้าซาก และความลึกของท้ายของซากกับเส้นรอบ round กับความยาวของช่วงขาหลังของซาก และเกิดขึ้นกับหน้าตัดของกล้ามเนื้อlongissimus dorsi มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.55, 0.754, 0.5, 0.515,0.785และ 0.806ตามลำดับ

2.สหสัมพันธ์ระหว่างความยาวของลำตัวกับลักษณะซาก ลักษณะซากที่สามารถเอาความยาวของลำตัวเป็นเครื่องทำนายได้ หรือมีสหสัมพันธ์กับความยาวของลำตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีสหสัมพันธ์ระหว่างความยาวของลำตัวกับความยาวของซาก กับความลึกของหน้าของซากกับเส้นรอบ round และกับพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อ longissimus dorsi มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.545,0.728,0672และ0.830ตามลำดับ ส่วนสหสัมพันธ์ระหว่างความยาวของลำตัวกับความลึกตอนท้ายของซาก และกับความยาวช่วงขาหลังของซาก ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติมีค่า correlation coefficient เท่ากับ 0.427และบวก 0.233 ตามลำดับ

3.สหสัมพันธ์ระหว่างความสูงของลำตัวกับลักษณะของซาก ลักษณะของซากทั้งหมด มีความสัมพันธ์กับความสูง ของลำตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้นความยาวของซากไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ลักษณะของซากซึ่งมีความสัมพันธ์กับความสูงของลำตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความลึกตอนหน้าของซาก ความลึกตอนหน้าของซากเส้นรอบ round.ความยาวช่วงขาหลังขาซากและพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อ longissimus dorsiมีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.698,0.546,0.553,0.635และ0.664ตามลำดับ ส่วนลักษณะซากที่มีความสัมพันธ์กับความสูงของลำตัว แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือความยาวของซาก ซึ่งมี correlation coefficient เท่ากับบวก 0.265

4.สหสัมพันธ์ของเส้นรอบอกกับลักษณะซาก ลักษณะซากทั้งหมดมีสหสัมพันธ์กับเส้นรอบอบและมีค่า correlation coefficient อย่ามีนัยสำคัญทางสถิติและความยาวซาก ความลึกตอนหน้าของซาก เส้นรอบ round และความยาวช่วงขาหลังของซาก และพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อ longissimus dorsi มีค่า เท่ากับบวก 0.599,0.569,0.522,0.876,0.588 และ 0.775ตามลำดับ

5.สหสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับลักษณะบางอย่าง ลักษณะที่น้ำหนักตัว สามารถทำนายได้ หรือลักษณะที่มีสหสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี ความยาวของลำตัวเส้นวัดรอบอก ความสูงของลำตัว มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก0.581, 0.589และ0.834ตามลำดับ เปอร์เซนต์ shrinkageสัมพันธ์ไปในทางตรงกันข้ามกับน้ำหนักตัวมีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก0.021 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เปอร์เซ็นต์ shrinkage หลัง chill24 ชั่วโมง dressing percentagsและเปอร์เซนต์ซากหลังจาก chill24 ชั่วโมง มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.351,0.068และ 0.259 ตามลำดับ

6.สหสัมพันธ์ระหว่างความยาวของลำตัวกับลักษณะบางอย่าง ความยาวของลำตัวสัมพันธ์กับเส้นรอบอก และความสูงของลำตัวอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.746,0.561ตามลำดับส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของลำตัวอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติมี เปอร์เซ็นต์ shrinkage หลังจากการเดินทาง dressing percentagsและเปอร์เซนต์ shrinkage หลังจาก chill 24 ชั่วโมงมีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก0.056,0.022และ 0.286ตามลำดับ

7.สหสัมพันธ์ระหว่างความสูงของลำตัวกับลักษณะบางอย่าง ความสูงของลำตัว มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หรือความสูงของลำตัวไม่สามารถเอามาทำนายเปอร์เซนต์ shrinkage หลังจากการเดินทาง dressing percentagsเปอร์เซนต์ shrinkage หลังจาก chill 24 ชั่วโมง มีค่า correlation coefficient เท่ากับลบ 0.230,บวก 0.034และบวก 0.366 ตามลำดับ

8.สหสัมพันธ์ระหว่างเส้นวัดรอบอบ กับลักษณะบางอย่าง เส้นรอบอกไม่สามารถนำมาเป็นเครื่องทำนายได้เปอร์เซนต์ shrinkage หลังจากการเดินทางdressing percentagsและเปอร์เซนต์ shrinkage หลังจากchill24 ชั่วโมง เพราะลักษณะเหล่านี้มีความกับเส้นรอบอกอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือมีค่า correlation coefficient เป็นบวก 0.051,บวก 0.353 และลบ 0.491 ตามลำดับ

9.สหสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับอวัยวะภายใน น้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถเป็นตัวทำนายน้ำหนักของลำไส้ หัวใจ ตับและม้ามได้ มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.673,0.635และ0.570 ตามลำดับ ส่วนน้ำหนักตัวที่ไม่สามารถทำนายหรือมีความสำพันธ์หรือไม่มีสหสัมพันธ์กับน้ำหนักของกระเพาะอาหาร ปอด และไต มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.376,บวก 0.034 และ ลบ 0.260 ตามลำดับ

10.สหสัมพันธ์ระหว่างความยาวของลำตัวกับอวัยวะภายใน อวัยวะภายในที่มีความสัมพันธ์กับความยาวของลำตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือ สามารถใช้ความยาวของลำตัวทำนายความยาวของลำไส้ กับกระเพาะอาหาร มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.835 และบวก 0.610 ตามลำดับ อวัยวะภายในสัมพันธ์กับความยาวของลำตัวอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่สามารถเอาความยาวของลำตัวเป็นตัวทำนายได้มี ปอด หัวใจ ไต ตับ และม้าม มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.111,บวก 0.112,ลบ 0.351,บวก 0.330 และบวก 0.234 ตามลำดับ

11.สหสัมพันธ์ระหว่างความสูงของลำตัวกับอวัยวะภายใน ความสูงของลำตัวมีความสัมพันธ์กับลำไส้ และกระเพาะอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่า correlation coefficient เท่ากับ บวก 0.585 และบวก 0.989ตามลำดับ ส่วนปอดหัวใจไตตับ และม้าม สัมพันธ์กับความสูงของลำตัว โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ฉะนั้น การทำนายโดยใช้ความสูงของลำตัว เป็นเครื่องทำนายก็เชื่อถือไม่ได้ มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.178,0.351,0.041และ0.370ตามลำดับ

12.สหสัมพันธ์ระหว่างเส้นวัดรอบอกกับอวัยวะภายใน อวัยวะภายในสามารถใช้เส้นรอบอกเป็นเครื่องทำนายอย่างเชื่อถือได้ หรือมีความสัมพันธ์กับเส้นรอบอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มี ลำไส้ กระเพาะอาหารหัวใจ และตับ มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.734 , 0.581,0.446 และ 0.559 ตามลำดับ ส่วนอวัยวะภายในที่มีความสัมพันธ์กับเส้นรอบอกอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีปอด ไต และม้าม มีค่า correlation coefficient เท่ากับบวก 0.123,ลบ 0.206 และบวก 0.323 ตามลำดับ