บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาวิธีการอบเยื่อหุ้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยใช้อินฟราเรด

ประพัฒน์ ทองจันทร์

: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) สาขาวิชาเครื่องจักรกลเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545. 75 หน้า.

2545

บทคัดย่อ

การศึกษาวิธีการอบเยื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยใช้อินฟราเรด

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการอบเยื่อหุ้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยใช้อินฟราเรด โดยกำหนดปัจจัยในการทดสอบคือ อุณหภูมิ เวลาอบ และระยะห่างระหว่างแท่งอินฟราเรดกับเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ จากการศึกษาวิธีการอบเยื่อหุ้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยใช้ตู้อบแก๊สที่นิยมใช้ในปัจจุบันเพื่อการเปรียบเทียบ พบว่าที่อุณหภูมิที่ใช้ในการอบคือ 70 องศาเซลเซียส เวลาอบนาน 24 ชั่วโมง ได้อัตราการลอกเยื่อ 1.20 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เนื้อในเมล็ดเต็ม 89.40 เปอร์เซ็นต์ และความขาวเนื้อในเมล็ด 61.44 L* การอบโดยใช้ตู้ไฟฟ้า อุณหภูมิที่ใช้ในการอบคือ 95 องศาเซลเซียส เวลาอบนาน 4 ชั่วโมง ได้อัตราลอกเยื่อ 1.24 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เนื้อในเมล็ดเต็ม 87.72 เปอร์เซ็นต์ และความขาวในเนื้อเมล็ด 61.89 L* สำหรับการศึกษาวิธีการอบเยื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยใช้อินฟราเรด กับเมล็ด 15 เซนติเมตร เหมาะสมที่สุด สำหรับการอบเมล็ดเพื่อการลอกเยื่อหุ้มเมล็ด โดยพิจารณาเน้นความสำคัญของค่าชี้ผลที่กำหนดราคาจำหน่ายเมล็ด คือเปอร์เซ็นต์เนื้อ ในเมล็ดเต็มและค่าความขาวเนื้อในเมล็ด ซึ่งผลการทดสอบ ให้อัตราลอกเยื่อ 0.99 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง เนื้อในเมล็ดเต็ม 91.43 เปอร์เซ็นต์ ค่าความขาวเนื้อในเมล็ด 63.03L*