บทคัดย่องานวิจัย

การคัดเลือกและการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรครากและโคนเน่าของทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivory (Butl.) Butl.

สุภาพร อวรัญ

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์), โรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2537. 118 หน้า.

2537

บทคัดย่อ

การคัดเลือกและการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรครากและโคนเน่าของทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivory (Butl.) Butl.  เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (antagonistic microorganism) ที่แยกได้จากดินและรากของต้นทุเรียนในแปลงปลูกจังหวัดจันทบุรีประกอบด้วยเชื้อรา 132 ไอโซเลทและแบคทีเรีย68 ไอโซเลท สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Phytophthora palmivoraซึ่งเป็นสาเหตุของโรครากและโคนเน่าของทุเรียนบนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar ได้ คัดเลือกเชื้อราปฏิปักษ์จำนวน 8 ไอโซเลท ซึ่งประกอบด้วยเชื้อรา Trichoderma spp. 67 ไอโซเลท) และ Penicillium sp. (1 ไอโซเลท) เพื่อนำมาเตรียมผงเชื้อโดยใช้ผงไดอะตอมไนท์ (diatormite powder) เป็นสารพา ทดสอบประสิทธิภาพของผงเชื้อราปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา P. palmivoraในห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการเตรียมส่วนผสมผลเชื้อ ซึ่งประกอบด้วยผงเชื้อราปฏิปักษ์ ผงไดอะตอมไมท์ รำข้าว และปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 : 8 : 5 : 16 โดยน้ำหนักเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ กับการใช้สารเคมี metalaxyl และ fosetl A1 อัตรา 1.25 และ 0.63 กรัมต่อลิตร (0.25 เท่าของอัตราปกติ) ตามลำดับ จากผล การทดลองพบว่าใส่เชื้อราทดสอบทุกไอโซเลทลงในดินที่ผสมเชื้อ P. palmivoraสามารถลดปริมาณเชื้อ P. palmivoraได้อย่างมีนัยสำคัญโดยส่วนผสมผงเชื้อราปฏิปักษ์มีประสิทธิภาพสูงกว่าmetalaxyl หรือ fosetyl A1 อัตราดังกล่าวแต่เมื่อใช้ส่วนผสมผงเชื้อราร่วมกับ metalaxy1 หรือ fosetyl A1 อัตราต่ำกลับไม่ได้ช่วยให้ปริมาณเชื้อรา P. palmivoraลดลงมากกว่าการใช้ส่วนผสมผงเชื้อราเพียงอย่างเดียว อย่างไร ก็ตามการใช้ส่วนผสมผงเชื้อร่วมกับ matalaxy1 ให้ผลดีกว่าการใช้ร่วมกับ fosettyl A1 สำหรับการทดสอบเพื่อควบคุมโรครากและโคนเน่าของกล้า ทุเรียนในเรือนปลูกพืชทดลอง ใช้วิธีใส่ส่วนผสมเชื้อราลงไปในดินปลูก แล้วบ่มเชื้อไว้ 4-5 วัน ก่อนปลูกเชื้อ P. palmivora บริเวณระบบรากของกล้าทุเรียน ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าเชื้อราทดสอบทุกไอโซเลท สามารถลดการเกิดโรคได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีควบคุม (control) ซึ่งไม่ได้ใส่ส่วนผสมของเชื้อราไอโซเลทที่ป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุดคือ Trichodedrma harzianumไอโซเลท M4 และ CHAN-03-13 โดยช่วยให้ต้นกล้าทุเรียนรอดตายทั้งหมด และเมื่อใช้ส่วนผสม ผงเชื้อ T. harzianum (M4) ร่วมกับสารเคมี metalaxyl อัตราต่ำ ช่วยลดการเกิดโรคได้ดีกว่าการใช้ร่วมกับ fosetyl A1 และการใช้สารเคมีอัตราต่ำเพียงอย่างเดียว สำหรับการทดสอบปรสิทธิภาพของแบคทีเรียซึ่งเตรียมในรูปส่วนผสมของผงเชื้อแบคทีเรีย ผลทัลรัค รำข้าว และปุ๋ยอินทรีย์ที่อัตรา 1 : 8 : 5 : 16 โดยน้ำหนักเพื่อควบคุมเชื้อ P. palmivoraในดินในห้องปฏิบัติการพบแบคทีเรียแกรมลบเพียง 1 ไอโซเลท ที่สามารถลดประชากรของเชื้อราได้แต่ไม่มีไอโซเลทใดเลยที่สามารถควบคุมโรครากและโคนเน่า ของทุเรียนในเรือนปลูกพืชทดลองได้