บทคัดย่องานวิจัย

ความมีชีวิตและอัตราการหายใจของเมล็ดถั่วเหลือง (Glycine max L.) พันธุ์ สจ.4

สมจิต มุ่งกลาง

การค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนวิชาชีววิทยา)) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2528. 154 หน้า.

2528

บทคัดย่อ

ความมีชีวิตและอัตราการหายใจของเมล็ดถั่วเหลือง (Glycine max L.) พันธุ์ สจ.4   อัตราการหายใจของเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์สจ. 4สูงขึ้นเร็วในระยะ9ชั่วโมงแรกหลังการเพราะตั้งแต่ชั่วโมงที่ 9ถึงชั่วโมงที่18เป็นระยะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการหายใจและหลังจากนั้นอัตราการหายใจต่อเมล็ดจะเพิ่มขึ้น ตลอด8วันที่ทำการศึกษารากจะแทงทะลุเปลือกหุ้มเมล็ดออกมาประมาณชั่วโมงที่ 18หลังจากเริ่มเพราะเมล็ดอัตราการหายใจของเมล็ดที่แกะเปลือกหุ้มเมล็ดออกก่อนการวัดจะสูงกว่าของเมล็ดที่วัดทั้งเปลือกหุ้มเมล็ดและไม่แตกต่างจากอัตราการหายใจของใบเลี้ยงรวมกับเอมบริโอนิคแอกซีสอย่างมีนัยสำคัญเมล็ดที่แกะเปลือกหุ้มเมล็ดออกก่อนการวัดอัตราการหายใจยังคงมีระยะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการหายใจแต่สั้นกว่าของเมล็ดที่วัดทั้งเปลือกหุ้มเมล็ดเมล็ดที่เก็บรักษาในสภาพต่างๆกันพบว่าเมื่อระยะเวลาการเก็บรักษานานขึ้นเปอร์เซ็นต์ความงอกและอัตราการหายใจในชั่วโมงที่ 15หลังจากเริ่มเพาะเมล็ดลดลงในอัตราที่แตกต่างกันเมล็ดที่มีความชี้นของเมล็ดต่ำ(9 %)เปอร์เซ็นต์ความงอกและอัตราการหายใจลดลงช้ากว่าเมล็ดที่มีความชั้นของเมล็ดสูง(12.5%)เมล็ดที่เก็บในห้องเย็น( 5± 1O ซ)ลดลงช้ากว่าเมล็ดที่เก็บที่อุณหภูมิห้อง ( 30± 2O ซ)เมล็ดที่มีความชื้นของเมล็ดต่ำเก็บในห้องเย็น (ความชื้นของเมล็ด 9% เก็บที่อุณหภูมิ5O ซ ) เปอร์เซ็นต์ความงอกและอัตราการหายใจลดลงช้ากว่าอีก3สภาพหลังจากเก็บเมล็ดไว้เป็นเวลา20 สัปดาห์ เมล็ดยังคงมีเปอร์เซ็นต์ความงอกเท่ากับ75และอัตราการหายใจเท่ากับ162.52 ไมโครลิตร / ชม. / กรัมน้ำหนักแห้งเมล็ดที่มีความชื้นของเมล็ดสูงและเก็บที่อุณหภูมิสูง (ความชื้นของเมล็ด12.5% เก็บที่อุณหภูมิ30O ซ)เปอร์เซ็นต์ความงอกและอัตราการหายใจลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากเก็บเมล็ดไว้เพียง14 สัปดาห์เปอร์เซ็นต์ความงอดลดลงเหลือ0เมื่อเปอร์เซ็นต์ความงอดและอัตราการหายใจขณะงอกลดลงมากค่า RQจะสูงขึ้นการลดลงของเปอร์เซ็นต์ความงอกและอัตราการหายใจขณะงอกมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของสหสัมพันธ์เท่ากับ0.8839