บทคัดย่องานวิจัย

การทดลองหาวิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบงกช (Nelubo nucifera Gaertn)

คนึงนิจ พิชญานนท์

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(พืชสวน)) สาขาวิชาพืชสวน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2544. 71 หน้า

2544

บทคัดย่อ

การทดลองหาวิธีการเก็บเกี่ยวและการปฎิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบงกช (Nelubo nucifera Gaertn)  การทดลองหาวิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ของดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบงกช (Nelubo nucifera Gaertn) แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 เปรียบเทียบการเก็บเกี่ยวดอกบัวในระยะที่โผล่พ้นน้ำ 8, 9, 10, 11 และ 12 วันโดย 10 วัน เป็น control(วิธีการของชาวสวน) ปรากฏว่าดอกบัวที่เก็บเกี่ยวหลังดอกโผล่พ้นน้ำ 10 วัน มีอายุการปักแจกันนาน ที่สุดเฉลี่ย 3 วันและมีการผลิตเอธิลีนน้อยที่สุดเฉลี่ย 65.27 nl/g/hr. ในขณะที่ดอกบัวที่ดอกโผล่พ้นน้ำ 8 วันมีอายุการปักแจกันน้อยที่สุดและผลิต เอธิลีนเฉลี่ย 177.78 nl/g/hr. การทดลองที่ 2 ทำการปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวดอกบัวหลวง พันธุ์สัตตบงกช โดยใช้ระยะการเก็บเกี่ยวดอกบัวที่ดีที่สุด จากผลการทดลองที่ 1 ซึ่งก็คือ เก็บเกี่ยวในระยะดอกบัวโผล่พ้นน้ำ 10 วัน นำมาปรับปรุง วิธีการปฏิบัติ เพื่อลดการขาดน้ำและความช้ำ ผลปรากฏว่า การใช้มีดที่คม และสะอาดตัดก้านดอกบัวจากนาบัวเพื่อลดความช้ำ จากนั้นบรรจุลงในถัง พลาสติกบรรจุน้ำ แทนการหอบด้วยมือ เพื่อลดความช้ำและการขาดน้ำ การหุ้มดอกด้วยโฟมตาข่ายเพื่อลดความช้ำของกลับดอก และการแช่ก้านดอกในน้ำ สะอาดก่อนการขนส่งแลหุ้มโคนก้านด้วยสำลีชุบน้ำเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ทำให้มีอายุการปักแจกันดีกว่าวิธีการอื่นๆ เฉลี่ย 46.51 nl/g/hr. (ทั้ง 3 การทดลอง)