บทคัดย่องานวิจัย

ลักษณะสมบัติของเปอร์ออกซิเดสในหัวมันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz หลังการเก็บเกี่ยว

ฐากรณ์ สอนวัฒนา

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2544. 108 หน้า.

2544

บทคัดย่อ

ลักษณะสมบัติของเปอร์ออกซิเดสในหัวมันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz หลังการเก็บเกี่ยว เปอร์ออกซิเดสเป็นเอนไซม์ที่พบได้ทั่วไปในพืช ซึ่งจะเร่งปฎิกิริยาออกซิเดชัน ของส่วนประกอบต่างๆ ในเซลล์ โดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นสับสเตรท ได้ทำการสกัดเปอร์ออกซิเดสจากเนื้อของหัวมันสำปะหลังที่เก็บไว้ 7 วัน จะทำให้บริสุทธิ์โดยตกตะกอน ด้วยเกลือแอมโมเนียมซัลเฟตที่อิ่มตัว 40-80% ตามด้วย affinity คอลัมน์โดยใช้ concanavalin A และเจลฟิลเตรชั่น (gel filtration) บนคอลัมน์เซฟฟาเด็กซ์ จี-200 (Sephadex G-200) ตามลำดับ พบว่าเอนไซม์มีความบริสุทธิ์ขึ้น 16 เท่า และมี specificactivity เท่ากับ 560 U/mg มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 105 กิโลดาลตัน วิเคราะห์จากคอลัมน์เจลฟิลเตรชั่นและมีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 54 กิโลดาลตัน จากผลการวิเคราะห์โดย SDS-PAGE จึงสรุปได้ว่าโมเลกุลของเอนไซม์นี้ประกอบด้วย 2 หน่วยย่อย จากการวิเคราะห์ โดย isoelectrofocusing gel พบว่าเอนไซม์นี้มี 5 รูปแบบ ซึ่งมีค่า pl เท่ากับ 5.1, 5.2, 5.4, 5.8 และ 6 เอนไซม์นี้เป็นไกโคลโปรตีนที่มีคาร์โบไฮเดรทสูงและมีฮีมเป็นส่วนประกอบเนื่องจากพบ Soret band ในสเปคตรัมขอเอนไซม์ที่ 398 นาโนเมตร เอนไซม์นี้มีความทนทานต่อ pH ในช่วงที่กว้างคือ 4 ถึง 11 มี pH มีเหมาะสมคือ 5 และ อุณหภูมิ 50 C เป็นเวลา 4 ชั่วโมง เมื่อตัดคาร์โบไฮเดรทออกบางส่วนด้วย 3% TFMS เอนไซม์นี้จะเหลือคาร์โบไฮเดรทอยู่ประมาณ 50% โดยน้ำหนัก เอนไซม์ที่ถูกตัดคาร์โบไฮเดรท ออกบางส่วนจะมีความทนทานต่อ pH และอุณหภูมิลดลง และมีความเข้มของโปรตีนที่ pl 5.1,5.2, 5.8, 6 ลดลง และโปรตีนที่ pl 5.3 เพิ่มขึ้น เปอร์ออกซิเดส จากเนื้อมันสำปะหลังสามารถเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยใช้ H2O2 DAB, guaiacol, I-dianisidine, pyrogallol และ syringaldazine เป็นสับสเตรท เอนไซม์ที่ถูกตัดคาร์โบไฮเดรทออกบางส่วนมีค่า Km ของสับสเตรททุกตัวลดลง ยกเว้น syringaldazine