บทคัดย่องานวิจัย

การควบคุมโรคผลเน่าของทุเรียนแบบผสมผสาน

สมศิริ แสงโชติ รัติยา พงศ์พิสุทธา และ รัตตา อเนกธนโชติ

รายงานโครงการวิจัยของ สกว., รหัสโครงการ: RDG4120029. ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม 2541 – เมษายน 2543. 99 หน้า.

2543

บทคัดย่อ

การควบคุมโรคผลเน่าของทุเรียนแบบผสมผสาน จากการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อแยกเชื้อที่มีอยู่ในสวนทุเรียนโดยเก็บตัวอย่างจากดินบริเวณทรงพุ่มใบทุเรียนเพื่อตรวจหาเชื้อราที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาการผลเน่าคือ Phytophthorapalmivora, Lasiodiplodiatheobromae, Phomopsis sp., และ Colletotrichumgloeosporioidesในช่วงทุเรียนเริ่มออกดอกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลทุเรียนรุ่นสุดท้ายพบว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเชื้อที่เป็นสาเหตุโรคผลเน่าที่แยกได้จากดินและใบทุเรียนมีปริมาณการเปลี่ยนแปลงที่มีรูปแบบไม่แน่นอนเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อมที่ตรวจวัดคืออุณหภูมิความชื้นและปริมาณน้ำฝน

เชื้อรา Phytophthorapalmivora, Lasiodiplodiatheobromae, Phomopsis sp., และ Colletotrichumgloeosporioides ซึ่งแยกได้จากส่วนของใบแลผลที่เป็นโรคทุเรียนผลทุเรียนที่หล่นอยู่โคนต้นจากพืชอื่นๆคือ เงาะ ลองกองมังคุด กาแฟและแหล่งอื่น ๆคือดิน อากาศพบว่าเชื้อรา L.theobromaeจากแหล่งเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดโรคกับผลทุเรียนได้ดีโดยเข้าทำลายทางแผลแต่ไม่สามารถเข้าทำลายได้โดยตรงสำหรับเชื้อราPhomopsis sp. Colletotrichumgloeosporioidesแยกได้จากใบและผลทุเรียน ลองกอง, สาบแร้งสาบกา, ดิน, อากาศสามารถทำให้เกิดโรคกับทุเรียนได้แต่ก็มีความรุนแรงของโรคค่อนข้างต่ำแม้ปลูกเชื้อโดยการทำแผลที่ผลลักษณะทางรูปร่างของเชื้อรา L. theobromae, Phomopsis sp และ C.gloeosporioidesที่ได้จากแหล่งต่างๆพบว่าเชื่อรา L. theobromaeมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันทั้งลักษณะโคโลนีขนาดของสปอร์ สำหรับเชื้อราPhomopsis spที่พบมีลักษณะโคโลนีที่แตกต่างกันแม้ว่าทั้งหมดจะมีขนาดของสปอร์สำหรับเชื้อรา Phomposis sp.ในระดับที่ค่อนข้างสูงแต่เชื้อรา C.gloeosporioidesมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

เมื่อตรวจสอบผลทุเรียนที่ตัดแต่งทิ้งไว้โคนต้นโดยทำการเก็บและตรวจตัวอย่างทุก 10 วันเป็นระยะเวลา70 วันพบเชื้อราPhytophthorapalmivorra, .theobromae, Phomopsis sp และ C.gloeosporioidesบนทุเรียนดังกล่าวโดยเฉพาะL. theobromae และ Phomopsis sp ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่เชื้อราC.gloeosporioidesและ Phytophthorapalmivora ในระดับต่ำ

การเก็บเกี่ยวทุเรียนโดยการตัดทุเรียนแล้วโยนลงมาให้อีกคนที่อยู่ใต้โคนต้นรับด้วยกระสอบป่านแล้ววางกองทุเรียนบนดินใต้โคนต้นแล้วนำไปบ่มโดยไม่จุ่มารเคมีก่อให้เกิดโรคผลเน่าแก่ทุเรียนสูงที่สุดถึง80 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา L. theobromae,C.gloeosporioidesและ Phomopsis sp. คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 42, 28 และ 10 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

การศึกษาวิธีการเข้าทำลายของเชื้อราL. theobromaeก่อให้เกิดโรคได้หลังจากปลูกเชื้อนาน 9ชั่วโมงโดยเข้าทำลายผลทุเรียนทางบาดแผลได้ดีที่สุดมีขนาดของแผลเท่ากับ12.5เซนติเมตรหลังจากปลูกเชื้อ 5 วันแต่ไม่สามารถเข้าทำลายผลทุเรียนหากไม่ทำแผลส่วนเชื้อราC.gloeosporioides และPhomopsis sp.เข้าทำลายผลทุเรียนหลังจากเก็บเกี่ยวได้ในระดับที่ต่ำมากไม่ว่าจะโดยวิธีการทำแผลหรือไม่ทำแผล

สารเคมี7 ชนิด ได้แก่flusilazole, guazatine, imazalil, myclobutanil, propiconazole, thiabendazole และ thiophanate-methyl ความเข้มข้น250, 500, 750 และ 1,000 ppm มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา L. theobromae,C.gloeosporioidesโดยพบว่าสารเคมีimazalilทุกความเข้มข้นมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา ทั้ง 3 ชนิดและยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา L.theobromaeของเชื้อรา L.theobromaeได้สูงที่สุดถึง100 เปอร์เซ็นต์ส่วนการใช้สารละลายเกลือsodiumsydrogencarbonate, potassium hydrogen carbonate, potassium carbonate, ammonium chloride และ sodium carbonateที่ระดับความเข้มข้น250 , 500 และ 1000 ppmพบว่าเกลือ ammonium chloride1000 ppm มีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราดังกล่าวแต่เมื่อเปรียบเทียบกับ imazalil500 ppmแล้วมีประสิทธิภาพด้อยกว่าการจุ่มผลทุเรียนในimazalilความเข้มข้น500 ppmโดยการจุ่มยกเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำมาใช้ควบคุมโรคผลเน่าของทุเรียน

การตรวจหาสารเคมีตกค้างโดยวิธีbioassayพบว่าผลทุเรียนที่จุ่มในสารเคมี imazalilความเข้มข้น500 ppmโดยการจุ่มยกแล้วนำมาตรวจสารเคมีตกค้างภายหลังการจุ่มทันที,หลังบ่มไว้3 และ 6 วันพบปริมาณสารเคมีตกค้างที่เปลือกผิวเท่ากับ 25.3, 14.4และน้อยกว่า10 ppm ตามลำดับ