บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาโรคที่เกิดกับข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง

ชาตรี สิทธิกุล

รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2531. 44 หน้า

2531

บทคัดย่อ

การศึกษาโรคที่เกิดกับข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง การศึกษาโรคพืชเกี่ยวกับข้าวเหนียวพื้นเมือง จำนวน 50 พันธุ์ ที่แปลงทดลองของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในสภาพไร่นาในฤดูเพาะปลูก ปี 2526 พบโรคที่สำคัญ 2 โรค คือ โรคขอบใบแห้ง (Xanthomonas campestris pv. oryzae) (Rhizoctonia solani) โรคทั้ง 2 ชนิดนี้ พบทำลายข้าวเหนียวทุกพันธุ์ที่ทำการทดลองโดยจะเริ่มเข้าทำลายหลังการย้ายปลูกแล้วประมาณ 30 วัน ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อข้าวเหนียวมีอายุมากขึ้น ในระยะตั้งท้องถึงออกรวงข้าวเหนียวเกือบทุกพันธุ์จะแสดงอาการค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคทั้ง 2 นี้ นอกจากนั้นยังพบโรคอื่น ๆ อีก 5 โรค ซึ่งเข้าทำลายข้าวเหนียวบางพันธุ์เท่านั้น โรคดังกล่าวได้แก่ โรคใบขีดสีน้ำตาล (Sphaerulina oryzina) โรคถอดฝักดาบ (Gibberella fujikuroi) โรคใบจุดสีน้ำตาล (Cochliobolus miyabeanus)โรคใบขีดโปร่งแสง (Xanthomonas campestris pv. oryzicolz)