บทคัดย่องานวิจัย

การเปลี่ยนแปลงรงควัตถุในผลมะม่วงและลิ้นจี่ในช่วงก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว

อัญชุลี ยินดี

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาชีววิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 157 หน้า.

2539

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงรงควัตถุในผลมะม่วงและลิ้นจี่ในช่วงก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของรงควัตถุในผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์ บี และปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดของเปลือกผลมะม่วงที่มีอายุ 30, 60, 90 และ 120 วันหลังจากดอกบาน มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในทุกช่วงอายุของผล แต่ปริมาณเบต้า-คาโรทีน มีค่าเพิ่มขึ้น เมื่ออายุผลเพิ่มมากขึ้น โดยมีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.260 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสดเมื่อผลมีอายุ 120 วันหลังจากดอกบาน นอกจากนี้ยังพบว่า ค่า Hue (a/b rato) ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่สามารถละลายน้ำได้ ปริมาณกรดทั้งหมดที่สามารถไตเตรทได้ ของผลมะม่วงอายุ 120 วันหลังจากดอกบานมีค่าแตกต่างจากระยะอื่นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อนำผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ ซึ่งมีอายุ 120 วันหลังจากดอกบาน มาศึกษาการเปลี่ยนแปลงรงควัตถุหลังการเก็บเกี่ยว โดยนำผลมะม่วงมาแช่สารละลายอีเทรล ความเข้มข้น 400 ppm เป็นเวลา 10 นาที แล้วนำไปไว้ที่อุณหภูมิ 15, 25 และ 35 องศาเซลเซียส หลังจากเก็บไว้ 6 วัน เปรียบเทียบกับการแช่น้ำที่อุณหภูมิชุดเดียวกัน พบว่า ผลมะม่วงที่แช่น้ำแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียสจะมีการเปลี่ยนแปลงของสีที่เปลือกเร็วกว่าผลมะม่วงที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 25 และ 15 องศาเซลเซียส ตามลำดับโดยปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดของเปลือกผลมะม่วงที่ไว้ที่ 35 องศาเซลเซียส ลดลงมากกว่าที่ 25 และ 15 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณเบต้า-คาโรทีนของเปลือกเพิ่มขึ้นตามลำดับและเมื่อใช้สารละลายอีเทรล พบว่า ผลมะม่วงที่แช่สารละลายอีเทรล 400 ppm เป็นเวลา 10 นาที มีการสูญเสียของปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และปริมาณคลอโรฟีลทั้งหมดของเปลือกเร็วกว่าผลที่แช่น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) ส่วนปริมาณเบต้า-คาโรทีน ในผลที่แช่ในสารละลายอีเทรล พบว่ามีค่ามากกว่าในผลชุดควบคุม เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 35 และ 25 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ในขณะที่การใช้สารละลายอีเทรลร่วมกับอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส มีผลต่อการสูญเสียของปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด แต่ไม่ค่อยมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณเบต้า-คาโรทีน จึงทำให้เปลือกไม่ค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและพบว่าการใช้สารละลายอีเทรลร่วมกับอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรงควัตถุของเปลือกมะม่วงมากที่สุด สำหรับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรงควัตถุในเปลือกผลลิ้นจี้พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ฮงฮวย พันธุ์จักรพรรดิ์ และพันธุ์กิมเจง ที่ระยะความแก่ต่าง ๆ 6 ระยะ ตั้งแต่ผลมีสีเขียวจนถึงผลมีสีแดงเข้ม พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด และปริมาณเบต้า-คาโรทีน ของผลในระยะที่ 1 (ผลสีเขียว) มีค่ามากที่สุดและมีค่าลดลงค่อนข้างมากเมื่อผลเข้าสู่ระยะที่ 2 (ผลสีเหลือง) และระยะที่ 3 (ผลสีชมพู) จากนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ในขณะที่ปริมาณแอนโทไซยานิน มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่ 6 (ผลสีแดงเข้ม) ปริมาณแอนโทไชยานินมีค่าสูงสุด ส่วนการศึกษาผลของแสงต่อการเปลี่ยนแปลงรงควัตถุของเปลือกผลลิ้นจี้พันธุ์โอเฮียะ โดยการห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล พบว่า เปลือกของผลลิ้นจี่ที่ห่อถุงมีปริมาณแอนโทไซยานินน้อยกว่าเปลือกผลลิ้นจี่ที่ไม่ได้ ห่อถุง โดยมีค่าเท่ากับ 30.565 และ 49.762 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ จากการศึกษาสรุปได้ว่าแสงมีผลต่อการพัฒนารงควัตถุแอนโทไซยานินในเปลือกผลลิ้น