บทคัดย่องานวิจัย

การสำรวจโรคที่เกิดจากเชื้อราหลังการเก็บเกี่ยวผลมะม่วง (Mangifera indica L.) และวิธีป้องกันกำจัดโรคที่รุนแรงบางวิธี

ประจวบ บุตรศาสตร์

การค้นคว้าแบบอิสระ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการสอนชีววิทยา)) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 166 หน้า

2531

บทคัดย่อ

การสำรวจโรคที่เกิดจากเชื้อราหลังการเก็บเกี่ยวผลมะม่วง (Mangifera indica L.) และวิธีป้องกันกำจัดโรคที่รุนแรงบางวิธี การสำรวจโรคที่เกิดจากเชื้อราหลังการเก็บเกี่ยวผลมะม่วง (Mangifera indica L.) และวิธีการป้องกันกำจัดโรคที่รุนแรงบางวิธี การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกสำรวจโรคบนใบช่อดอก และผล โดยวิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อใบและช่อดอก พบโรคแอนแทรคโนสเกิดจากเชื้อ Colletotrichum gloesporioides Penz. ทั้งหมด สำหรับในผลพบลักษณะอาการของโรค 5 โรคคือ โรคแอนแทรคโนส อาการผลเน่าดำ cladosporium rot อาการขั้วผลเน่า และอาการผลเน่า ซึ่งแยกได้เชื้อรา 9 ชนิดคือ colletrichum gloeospoioides Penz., Aspergilus niger Van. Teigh., Cladosporium sp., Phoma sp., Penicillium sp., Botrytis cinerea Per. ex Fr., Botryodiplodia theobromae Pat., Geotrichum sp. และ Curvularia sp. ตามลำดับ พบว่าทั้งบนใบ ช่อ ดอก และผลมะม่วงเกิดโรคแอนแทรคโนสพบมากที่สุดจึงนำมาศึกษาวิธีการป้องกันกำจัด ส่วนที่ 2 การศึกษาวิธีป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส โดยการปลูกเชื้อ C. gloeosporioides ก่อนหรือหลังการใช้วิธีการป้องกันกำจัดเชื้อสาเหตุ 5 นาที ด้วยวิธีต่าง ๆ กัน 7 วิธีเป็นเวลา 5 นาที จากการเปรียบเทียบวิธีการป้องกันกำจัด พบว่ามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้แสดงอาการโรครุนแรงกว่าพันธุ์หนังกลางวัน การจุ่มก่อนหรือหลังการปลูกเชื้อ 5 นาที ให้ผลไม่แตกต่างกัน การใช้สารละลายผสมระหว่างบีโนมิล 1000 ppm กับแคลเซียมคลอไรด์ 500 ppm ที่อุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียสให้ผลดีที่สุด รองลงมาคือสารละลายบิโนมิล 1000 ppm ที่อุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส และสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ 500 ppm ที่อุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส ส่วนบีโนมิล 1000 ppm แคลเซียมคลอไรด์ 500 ppm และในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส ให้ผลเหมือนกัน ซึ่งทุกกลุ่มแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ