บทคัดย่องานวิจัย

ผลของแบคทีเรียไอโซเลท B6 และ H11 ต่อการติดเชื้อ Fusarium spp. ในมะเขือเทศ

ปฏิพันธ์ นันทขว้าง

การค้นคว้าแบบอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา 202759 ตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 72 หน้า.

2544

บทคัดย่อ

ผลของแบคทีเรียไอโซเลท B6 และ H11 ต่อการติดเชื้อ Fusarium spp. ในมะเขือเทศ แบคทีเรียไอโซเลท B6 และ H11 เป็นแบคทีเรียอุณหภูมิสูงกรัมบวก สร้างเอนโดสปอร์รูปร่างแท่งสั้นเจริญได้ในช่วงอุณหภูมิ 20 ถึง 55 องศาเซลเซียส และเมื่อนำ B6 และ H11 มาทดสอบการยับยั้งการเจริญของ Fusarium spp. 16 ไอโซเลท ซึ่งเป็นเชื้อราโรคพืชสาเหตุของโรคเหี่ยวในพืชหลายชนิด พบว่า antagonistic effect test ด้วยวิธี spot test โดยใช้แบคทีเรียทั้งสองไอโซเลทนี้จะให้ผลยับยั้งการเจริญเฉพาะไอโซเลท F2-1; F2-2 และ F10 ส่วน antagonistic effect test ด้วยวิธี spot test, วิธี paper disc และวิธี agar disc เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของการยับยั้งของ B6 และ H11 ที่มีต่อ F2-1, F2-2 และ F10 พบว่าทั้ง 3 วิธี ให้ผลการยับยั้งได้ แต่วิธี paper disc และ วิธี spot test ให้ลักษณะของวงใสสม่ำเสมอมากกว่าวิธี agar disc เมื่อนำ B6 และ H11 มาเลี้ยงเพาะในอาหารเหลว EMP ที่เดิม colloidal chitin, EMP ที่เติมเปลือกกุ้งป่นสกัดด้วยกรด hydrochloric และในอาหารแข็งเปลือกกุ้งป่น แล้วบ่มที่อุณหภูมิห้อง (28±2 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 7 และ 15 วัน สำหรับการเพาะเลี้ยงในสภาพอาหารเหลวและอาหารแข็งตามลำดับ พบว่าสามารถวัดค่า chitinase activity ของ B6 ได้เฉพาะในอาหารเหลว EMP ที่เติม colloidal chitin เท่ากับ 0.1954 U/ml และค่า specific activity เท่ากับ 0.320 U/g protein ส่วนค่า chitinase activity ของ H11 ในอาหาร colloidal chitin, เปลือกกุ้งป่นสกัดด้วยกรด hydrochloric และอาหารเปลือกกุ้งป่น เท่ากับ 0.2070, 0.5600และ 0.7050 U/ml ตามลำดับ และค่า specific activity เท่ากับ 0.590, 1.550 และ 3.520 U/g ตามลำดับ แบคทีเรียไอโซเลท H11 สามรถผลิตไคติเนสจากไคตินได้ โดยใช้ไคตินสับสเตรทได้ดีตามลำดับดังนี้คือ เปลือกกุ้งป่น และเปลือกกุ้งป่นสกัดด้วยกรด hydrochloric และ colloidal chitin ส่วน B6 สามารถใช้เฉพาะ colloidal chitin เป็นสับสเตรทได้ และเมื่อนำน้ำกรองที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในสภาพอาหารเหลวและแข็งมาทดสอบ inhibitory effect test ด้วยวิธี cylinder plate และวิธี paper disc พบว่าน้ำกรองเลี้ยงเชื้อที่ทดสอบด้วยวิธี cylinder plate ให้ผลยับยั้งต่อ Fusarium ; F2-1, F2-2 และ F10 ได้ทั้ง 3 ไอโซเลท แต่วงใสที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ ส่วนน้ำกรองที่ได้จากอาหารเลี้ยงเชื้อสูตร colloidal chitin ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ซึ่งทดสอบด้วยวิธี paper disc พบว่า บริเวณวงใสของ H11 เกิดขนได้มากกว่า B6 ส่วนน้ำกรองที่เก็บได้จากอาหารเลี้ยงเชื้อทั้ง 3 สูตร ที่อุณหภูมิห้องของ B6 และ H11 ไม่เกิดวงใส การทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคเหี่ยวของมะเขือเทศระหว่างเชื้อปฏิปักษ์ (B6 และ H11) และเชื้อสาเหตุโรค (F2-1, F2-2 และ F10) ในเรือนทดลอง ซึ่งทดลองกับต้นมะเขือเทศอายุหนี่งเดือนที่ปลูกในดินซึ่งผสมซัสเพนชั่นของเชื้อปฏิปักษ์และราสาเหตุโรคพืช หลังจากทดลองได้ 4 สัปดาห์ ด้วยวิธี พบว่า H11 ควบคุมโรคได้ดีกว่า B6 และตรวจหาจำนวนประชากรของ B6 และ H11 กับ F2-1, F2-2 และf10 ที่หลงเหลืออยู่ในดินที่ปลูกต้นกล้ามะเขือเทศ ซึ่งทิ้งไว้นาน 4 สัปดาห์ ด้วยวิธี soil dilution plate count โดยวิธี spread plate technique บน potato dextrose agar plate พบว่ามีโคโลนีของแบคทีเรียที่ลักษณะคล้ายโคโลนีของ B6 และ H11 เจริญอยู่ในดินทุก treatment และพบโคโลนีของ Fusarium spp. ได้ในดินของทุก treatment ที่ได้ใส่เชื้อราเหล่านี้ลงไป ส่วน treatment ที่ใส่ทั้งเชื้อปฏิปักษ์และราลงไป พบว่า B6 และ H11 สามารถลดอาการของโรคและจำนวนประชากรของราโรคพืชได้ แต่ H11 สามารถควบคุมจำนวนประชากรของราโรคพืช ได้ดีกว่า B6