บทคัดย่องานวิจัย

ผลของสารเคมีและอุณหภูมิต่ำต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของดอกกุหลาบหลังการเก็บเกี่ยว

วรินธร ยิ้มย่อง

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545. 141 หน้า.

2545

บทคัดย่อ

ผลของสารเคมีและอุณหภูมิต่ำต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของดอกกุหลาบหลังการเก็บเกี่ยว  การศึกษาผลของสารเคมีและอุรหภูมิต่ำต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของดอกกุหลาบพันธุ์ Dallas โดยแบ่งการทดลองออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนแรก นำดอกกุหลาบพันธุ์ Dallas มาพัลซิ่ง (pulsing) ในสารเคมี 4 ชนิด คือ สารเคมีที่ประกอบด้วย AgNo3 150 มก./ลิตร กรดซิตริก 30 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ AgNo3 150 มก./ลิตร 8 – HQS 400 มก./ลิตร กรดซิตริก 30 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ AgNo350 มก./ลิตร Na2S2O3 500 มก./ลิตร กรดซิตริก 30 มก./ลิตร ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ และ AgNo330 มก./ลิตร DICA 250 มก./ลิตร Al2(SO4)3 300 มก./ลิตร กรดวิตริก 30 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ นาน 12 ชั่วโมง ส่วนที่สอง นำดอกกุหลาบพันธุ์ Dallas มาปักแจกันในสารเคมี 4 ชนิด คือ สารเคมีที่ประกอบด้วย AgNo3 50 มก./ลิตร ลิตร 8 – HQS 200 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์8 – HQS 200 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ และ CoNo3 200 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับน้ำกลั่น และส่วนที่สาม นำสูตรสารเคมีสำหรับพัลซิ่งและปักแจกันที่เหมาะสมที่สุดจากส่วนที่หนึ่งและสองมาใช้ร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ โดยนำดอกกุหลาบไปพัลซิ่งก่อนนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส และ 5 องศาเซลเซียส นาน 3 6 9 และ 12 วัน แล้วนำมาปักแจกันในสารเคมีสำหรับปักแจกันและน้ำกลั่นพบว่า การพัลซิ่งด้วย AgNo3 150 มก./ลิตร กรดซิตริก 30 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ และ AgNo3 150 มก./ลิตร 8 – HQS 400 มก./ลิตร กรดซิตริก 30 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกัน คือ 6.50 และ 6.07 วัน ตามลำดับ ซึ่งนานกว่าอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบในกรรมวิธีอื่นๆ และดอกกุหลาบมีคุณภาพดีกว่าชุดควบคุม ส่วนการปักแจกันใน CaCl2 0.4 เปอร์เซ็นต์ 8-HQS 200 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ และ AgNo3 50 มก./ลิตร ลิตร 8 – HQS 200 มก./ลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ ช่วยทำให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกันนานที่สุด คือ 9.20 และ 8.87 วัน ตามลำดับ ดอกกุหลาบที่ปักแจกันในสารเคมีทุกกรรมวิธีคุณภาพดีกว่าดอกกุหลาบในชุดควบคุม ดอกกุหลาบที่พัลซิ่งแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส นาน 12 วัน แล้วนำออกมาปักแจกันในสารเคมี มีอายุการปักแจกันและคุณภาพดีที่สุด น้ำกลั่นที่ใช้ในการปักแจกันนาน 5 วัน มีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ เท่ากับ 8.8 x 106 CFU/มล. ในขณะที่ไม่พบเชื่อจุลินทรีย์ ในสารเคมีที่ใช้ปักแจกันในทุกกรรมวิธี ก้านดอกกุหลาบที่ปักแจกันในน้ำกลั่นนาน 5 วัน มีการสลายของผนังเซลล์บริเวณท่อลำเลียงน้ำมาก ในขณะที่ก้านดอกกุหลาบที่ปักแจกันในสารเคมีลักษณะท่อลำเลียงน้ำยังอยู่ในสภาพปกติ