บทคัดย่องานวิจัย

การทดลองสร้างห้องเย็นสำหรับเก็บพืชผลโดยอาศัยการทำความเย็นตามธรรมชาติ

ปิยะวัติ บุญ-หลง

รายงานการวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2524. 61 หน้า

2524

บทคัดย่อ

การทดลองสร้างห้องเย็นสำหรับเก็บพืชผลโดยอาศัยการทำความเย็นตามธรรมชาติ    ผู้วิจัยได้ทดลองทำความเย็นแบบธรรมชาติ โดยใช้ทั้งหลักการของหลังคาถาดน้ำ (roof pond) และพื้นผิวเลือกแผ่รังสี (Selective radiator) ในช่วง 8 – 13 ไมตรอน จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นทั้งระบบปรับอากาศแบบธรรมชาติ และเป็นห้องเย็นสำหรับเก็บพืชผลหรืออาหาร ผลการทดลอง พบว่า ในภูมิภาคอากาศของเมืองเชียงใหม่ ห้องทดลองแบบหลังคาถาดน้ำ สามารถลดอุณหภูมิของน้ำในถาดลงได้ 0 °- 4 °C ต่ำกว่าอุณหภูมิต่ำสุดของบรรยากาศในเวลากลางคืน และอุณหภูมิภายในห้องจะอยู่ในระดับ 1° - 2 °C สูงกว่าอุณหภูมิน้ำในการถาดการทดลองผิวเลือกแผ่รังสี โดยใช้แผ่นอลูมิเนียมทาสีขาว ปิดด้วย polyethylene พบว่า สามารถลดอุณหภูมิของผิวเลือกแผ่รังสีลงได้สูงสุด 8 °C ต่ำกว่าอุณหภูมิในบรรยากาศในฤดูหนาว ผู้วิจัย ยังได้คำนวณค่า spectral emissiveity ของบรรยากาศในบริเวณเมืองเชียงใหม่ และค่าอัตราการแผ่รังสีสุทธิจากพื้นผิวเลือกแผ่รังสี 4 ชนิด โดยอาศัยข้อมูลการตรวจอากาศชั้นบนของกรมอุตุนิยมวิทยาได้ผลการคำนวณว่า spectral emissiveityในช่วง 8 –13 ไมตรอน ของบรรยากาศบริเวณเมืองเชียงใหม่ มีค่าต่ำสุด 0.42 ในฤดูหนาว และสูงสุด 0.81 ในฤดูฝน อัตราการแผ่รังสีสุทธิ จากพื้นผิวเลือกแผ่รังสีชนิดต่างๆ มีค่าระหว่าง 40 – 50 W/m2 ในฤดูหนาว และลดลงเป็น 15 – 20 W/m2 ในฤดูฝน จากข้อมูลนี้ ผู้วิจัยได้คำนวณออกแบบห้องเย็นขนาด 5 x 7 x 3 เมตร โดยใช้แผ่นอลูมิเนียมทาสีขาวเป็นพื้นผิวแผ่รังสีด้วย