บทคัดย่องานวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพของส้มเขียวหวานด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี

วรรณกนก ทาสุวรรณ์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 2546. 133 หน้า.

2546

บทคัดย่อ

การตรวจสอบคุณภาพของส้มเขียวหวานด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี เป็นเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ตรวจสอบคุณภาพของผลิตผลเกษตรแบบไม่ทำลายผลได้อย่างรวดเร็วและไม่ต้องใช้สารเคมี การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้น สำหรับการนำเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี มาตรวจสอบคุณภาพภายในผลส้มเขียวหวานพันธุ์สายน้ำผึ้ง โดยใช้ความยาวคลื่นระหว่าง 700-1100 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงคลื่นสั้น เพื่อประเมินค่าทางเคมมี ได้แก่ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) และปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ (TA) การเปรียบเทียบสมการ calibration จากวิธีวิเคราะห์ทางสถิติ 3 วิธี คือ Modify Partial Least Component Regression (MPLSR) Principal Component Regression (PCR) และวิธี Multiple Linear Regression (MLR) จากการทดลอง พบว่าสมการ calibration MPLS และ MLR สามารถทำนายค่าทางเคมีได้แม่นยำใกล้เคียงกัน ค่าทำนาย TSS ของผลส้มที่มีเปลือก มีค่าความสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.944 และ 0.955 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานการพยากรณ์ (SEP) เท่ากับ 0.494 และ 0.574 ค่า Bias เท่ากับ 0.094 และ 0.122 ส่วนของผลส้มทั้งผลปอกเปลือกได้ค่า R เท่ากับ 0.981 และ 0.976 ค่า SEP เท่ากับ 0.254 และ 0.274 ค่า Bias เท่ากับ 0.056 และ 0.049 ตามลำดับ สำหรับค่าทำนาย TA ได้ผลไม่ค่อยแม่นยำนัก โดยค่าทำนาย TA ของผลส้มที่มมีเปลือกได้ค่า R เท่ากับ 0.6.36 และ 0.600 ค่า SEP เท่ากับ 0.069 และ 0.073 ค่า Bias เท่ากับ 0.002 และ –0.005 ตามลำดับ ส่วนของผลส้มที่ปอกเปลือกมีค่า R เท่ากับ 0.561 และ 0.771 ค่า SEP เท่ากับ 0.070 และ 0.057 ค่า Bias เท่ากับ 0.005 และ 0.002 ตามลำดับ

การตรวจสอบคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัส ผู้ประเมินสามารถแยกคุณลักษณะตามความชอบของผลส้มเขียวหวานพันธุ์สายน้ำผึ้งที่บ่งบอกถึงคุณภาพได้ และความสัมพันธ์ระหว่างการชิมกับค่าทางเคมีพบว่า ความชอบมีความสัมพันธ์กับเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ