บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาคุณสมบัติการสั่นสะเทือนของส้มเขียวหวาน

ณพวีร์ พุ่มโต

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 116 หน้า

2543

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณสมบัติการสั่นสะเทือนของส้มเขียวหวาน            วิทยานิพนธ์นี้เพื่อที่จะออกแบบสร้างและทดสอบอุปกรณ์วัดและหาคุณสมบัติการสั่นสะเทือนของส้มเขียวหวาน อุปกรณ์วัดประกอบด้วยถังเหล็กขนาด 0.4´0.6´0.6 เมตร3 สามารถตะกร้าพลาสติกที่บรรจุผลส้มเขียวหวานได้ 25 กิโลกรัม กลไกในการสั่นสะเทือนประกอบไปด้วยลูกเบี้ยวขนาด 2 และ 4 มิลลิเมตร พร้อมด้วยแขนที่เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกเบี้ยวมอเตอร์ขนาด 3 แรงม้า เป็นชนิดปรับรอบได้ และกล่องควบคุมเวลาการทำงานของมอเตอร์ สามารถทดสอบการสั่นสะเทือนได้ทั้งแนวดิ่งและแนวระดับ วิธีการทดลองประกอบด้วยการกำหนดปัจจัยตัวคุมดังนี้ แอมพลิจูด 2 และ 4 มิลลิเมตร ความถี่ 10 และ 15 Hz และระยะเวลาในการสั่นสะเทือน 5 และ 10 วินาที ทดสอบ 2 ซ้ำ ในแนวดิ่งและแนวระดับ ผลการทดลองพบว่า ปัจจัยตัวคุมแอมพลิจูด ความถี่ และระยะเวลาในการสั่นสะเทือน มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 5%[Prob. ³ 0.05] ต่อค่าดัชนีการทรงตัว เปอร์เซ็นต์การยุบตัว และเปอร์เซ็นต์ความช้ำในแนวดิ่งและแนวระดับ ซึ่งปัจจัยตัวคุมที่เหมาะสม คือ แอมพลิจูด 2 มิลลิเมตร ความถี่ 10 Hz และระยะเวลาในการสั่นสะเทือน 5 วินาที ให้คุณสมบัติการสั่นสะเทือน (1) ในแนวดิ่ง ค่าดัชนีการทรงตัว = 2.12 เปอร์เซ็นต์การยุบตัว = 3.55 และเปอร์เซ็นต์ความช้ำ = 0.94 (2) ในแนวระดับ ค่าดัชนีการทรงตัว = 2.09 เปอร์เซ็นต์การยุบตัว = 2.52 และเปอร์เซ็นต์ความช้ำ = 0.32